เอลนีโญและลานีญาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสภาพอากาศทั่วโลก โดยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และสภาพอากาศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งความแปรปรวนเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายต่อห่วงโซ่อุปทาน หรือ ซัพพลายเชน (Supply Chain) ในอุตสาหกรรมอาหารอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบอย่างวัตถุดิบทางการเกษตร การประมง และแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ ล้วนแต่ต้องพึ่งพาสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ต่างส่งผลกระทบต่อผลผลิต ต้นทุนการผลิต ตลอดจนการขนส่งที่ล่าช้า จนทำให้ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารเกิดผลกระทบตามกันเป็นทอด ๆ นั่นเอง
ในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปสำรวจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเอลนีโญและลานีญาที่มีต่อซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหาร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการกระจายสินค้า รวมถึงแนะนำว่าธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารควรปรับตัวและวางกลยุทธ์อย่างไรเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้กัน !
ในช่วงปีที่ผ่านมาหลายคนมักได้ยินคำว่า “เอลนีโญ” และ “ลานีญา” กันมามากมาย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับปรากฏการณ์ทั้งสองสิ่งนี้ว่าคืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
“เอลนีโญ” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสลมและการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ โดยผลกระทบจากเอลนีโญทำให้เกิดภัยแล้ง ขาดแคลนฝนในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย และในทางกลับกันอาจทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในโซนชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งผลจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจึงทำให้เกิดความแห้งแล้งนั้นอาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงหรืออาจสูญพันธุ์ได้นั่นเอง
“ลานีญา” เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ โดยเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันออกต่ำลงกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสลมและการเคลื่อนที่ของมวลอากาศเช่นเดียวกัน ซึ่งผลกระทบจากลานีญามักทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ส่วนทางชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้กลับเกิดความแห้งแล้งในทางตรงข้ามกันนั่นเอง ซึ่งภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากเอลนีโญอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน จนส่งผลเสียหายต่อการเพาะปลูกและการประมง เป็นต้น
ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลกอย่างรุนแรง และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ “อุตสาหกรรมอาหาร” อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดจากปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ (Procurement) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการเกิดภัยแล้งหรือน้ำท่วมฉับพลันที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรขาดน้ำหรือเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งทำให้การเก็บเกี่ยววัตถุดิบทางการเกษตรเป็นไปได้ยาก จนทำให้ผลผลิตมีปริมาณลดลงและต้นทุนด้านวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร
หรือแม้กระทั่งปัญหาในระบบนิเวศทางทะเลจากเอลนีโญทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้แหล่งประมงบางแห่งมีปริมาณสัตว์น้ำลดลง จนเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบจากการประมงจนกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล และสร้างความไม่แน่นอนในการจัดหาวัตถุดิบ หรืออาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคพืชและสัตว์ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิต หรืออาจต้องใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงมากขึ้นในการควบคุมโรคเหล่านี้จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตออกมาด้วยนั่นเอง
และแน่นอนว่าจากปัญหาดังกล่าวที่ทำให้วัตถุดิบขาดตลาด หรือเกิดการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตที่ลดลงจนกลไกตลาดต้องปรับราคาขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมอาหาร จนกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตอาหาร และในสุดท้ายส่งผลต่อราคาของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องแบกรับตามห่วงโซ่อุปทานนั่นเอง
การรับมือกับปัญหาเอลนีโญและลานีญาในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารต้องอาศัยการวางแผนและการปรับตัวที่ดีต่อปัญหาที่ไม่แน่นอน โดยธุรกิจจะต้องมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่อาจเกิดขึ้น และการอาศัยซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นได้และมีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น
การกระจายแหล่งจัดหาวัตถุดิบ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ คือ การกระจายแหล่งจัดหาวัตถุดิบ โดยอุตสาหกรรมอาหารควรสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับซัพพลายเออร์ด้านวัตถุดิบในหลายภูมิภาคเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบจากที่เดียว ซึ่งเมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่อาจเลี่ยงได้ธุรกิจจะยังคงสามารถจัดหาวัตถุดิบได้จากพื้นที่อื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบนั่นเอง
หรือการสำรองวัตถุดิบในคลังสินค้าก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร โดยธุรกิจควรจะมีการจัดเก็บวัตถุดิบในคลังที่มากพอเพื่อรองรับความต้องการในการผลิตในกรณีที่เกิดความล่าช้าในการจัดหาและจัดส่งวัตถุดิบจากผลกระทบเอลนีโญหรือลานีญา ซึ่งการวางแผนอย่างรอบคอบในด้านการสำรองวัตถุดิบนี้จะช่วยให้การผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้วัตถุดิบที่จำเก็บไว้ควรจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ไม่เน่าเสียง่ายหรือมีอายุการเก็บรักษา (Shelf Life) ที่สามารถจัดเก็บได้นานโดยยังคงคุณภาพเดิมและไม่มีเน่าเสียนั่นเอง
ขอแนะนำบทความที่น่าสนใจ :
เพราะเรา Cogistics เข้าใจถึงปัญหาหลักที่เกิดจากเอลนีโญและลานีญาที่ทำให้เกิดความผันผวนของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรจนเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ ผลผลิตเสียหาย วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ และราคาวัตถุดิบที่ผันผวนจนทำให้ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มสูงขึ้น
“Veggie Industry” บริการจัดหาวัตถุดิบผักและผลไม้แช่แข็ง จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยจัดหาและจัดส่งวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมอาหารในปริมาณหลักตันขึ้นไป โดยสามารถจัดหาวัตถุดิบผักผลไม้ได้มากกว่า 100 ชนิด พร้อมบริการตัดแต่งรูปทรงให้พร้อมใช้งาน ด้วยการบริหารจัดการในรูปแบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและต้นทุนที่ผันแปร เพราะเราสามารถจัดหาและจัดส่งวัตถุดิบให้คุณได้ตลอด 365 วัน ด้วยเครือข่ายแหล่งเพาะปลูกวัตถุดิบผัก-ผลไม้จากทั่วโลก ทำให้เรามีวัตถุดิบพร้อมจัดส่งให้คุณได้ตลอดทั้งปีและราคาคงที่ไม่มีผันผวนตามกลไกลราคาของตลาด
ไม่ว่าจะวิกฤตไหนที่คุณเจอ เรา Cogistics เพื่อนคู่คิดอุตสาหกรรมอาหาพร้อมช่วยคุณรับมือกับปัญหาด้านวัตถุดิบผักผลไม้ให้ผ่านพ้นไปได้และช่วยให้คุณดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืน
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
Call: 02-328-6638
Line Official: @cogistics
Facebook: Cogistics Co., Ltd.
Email: salesorder@cogistics.co.th
แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร