“ซัพพลายเชน” เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจอาหารต้องหันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดีสามารถสร้างความได้เปรียบในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้แก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมได้
ก่อนอื่นเรามาต้องทำความเข้าใจกับความหมายเบื้องต้นกันก่อน คำว่า ห่วงโซ่อุปทาน หรือที่เรียกว่า Supply Chain หมายถึง กระบวนการจัดการการผลิตที่เชื่อมโยงกันด้วยข้อมูลและการสื่อสาร เพื่อให้สินค้าและบริการเดินทางจากจุดเริ่มต้นจนถึงมือลูกค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง
และอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ที่ทุกธุรกิจในยุคปัจจุบันจะต้องให้ความสนใจกันมากยิ่งขึ้น ก็คือการนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดการตระหนักต่อผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมต่อกันขององค์กร เพื่อให้การบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ผู้บริโภคพร้อมมุ่งหน้าสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน
ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต่างก็นำองค์ความรู้ของการจัดการ Supply Chain มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมอาหาร ที่เราจะมากล่าวถึงในบทความนี้เท่านั้น เนื่องจากซัพพลายเชนสามารถทำให้องค์กรเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในธุรกิจที่ไม่จำเป็นลง ทำให้องค์กรสามารถปรับปรุงการทำงานได้อย่างเป็นบูรณาการให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต
การจัดหา (Procurement) ขั้นตอนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการได้มาหรือการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสิ่งจำเป็นในกระบวนการผลิตอาหารและการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม ซึ่งองค์กรจะต้องมีผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดหาและคัดสรรวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ สามารถจัดส่งได้ตรงตามเวลาในปริมาณที่เพียงต่อการผลิต อีกทั้งยังช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบในกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
การผลิต (Manufacturing) ขั้นตอนในกระบวนการผลิต หรือแปรรูปวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอาหาร เริ่มต้นจากการรับวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน คัดเลือกวัถตุดิบให้มีรูปร่างและขนาดตามที่ต้องการ จัดเก็บวัตถุดิบในห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาและคงคุณภาพก่อนใช้งาน การจัดการแปรรูปวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าผ่านระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมอาหาร อย่างเช่น เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation Machine) เพื่อให้สินค้าอาหารออกมามีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานของโรงงาน โดยกระบวนการผลิตจะต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรม การลดขยะอาหาร (Food Watse) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อโลกจากกิจกรรมในอุตสาหกรรมโดยตรง
การจัดเก็บ (Storage) หรือการจัดการคลังสินค้า เมื่อสินค้าอาหารถูกผลิตจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ขั้นตอนต่อมาคือการเก็บรักษาสินค้าเพื่อรอส่งมอบให้แก่ลูกค้า เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและความสดใหม่ของอาหารรวมถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในการรับประทาน ซึ่งจะต้องวางแผนการจัดเก็บ โดยเลือกคลังสินค้าให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดเก็บและเคลื่อนย้าย และมีระบบบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งยังต้องมีการควบคุมอุณภูมิและความชิ้นในพื้นที่จัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพและป้องกันการเสื่อมสภาพของสินค้าอาหารก่อนถูกกระจายสู่จุดจำหน่ายแก่ผู้บริโภค
การกระจายสินค้า (Distribution) ในขั้นตอน Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าไปยังคลังสินค้าจุดต่าง ๆ หลายแห่งเพื่อสต๊อกสินค้าหลังจากการกระบวนการผลิตให้สะดวกต่อการขนส่ง ซึ่งคลังสินค้าจะต้องมีมาตรฐานเพื่อให้สินค้าไม่เกิดความเสียหาย โดยต้องเริ่มจากการวางแผนการกระจายสินค้าให้เหมาะสม บรรจุหีบห่อสินค้าให้ดีเพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างกระจายสินค้า และเลือกวิธีการขนส่งเพื่อส่งสินค้าให้ถึงปลายทางโดยคำนึงถึงระยะทาง ระยะเวลา ค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม และมีระบบบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การขนส่ง (Logistics) ขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการจัดการ Supply Chain ที่ไม่ควรมองข้ามของอุตสาหกรรมอาหาร มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดจำหน่ายปลายทางเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างตลาด Modern Trade หรือร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ จนสินค้าส่งถึงมือผู้บริโภค (End User) ได้ในท้ายที่สุด ซึ่งความสำคัญในขั้นตอนการขนส่งโลจิสติกส์ จะต้องรวดเร็ว ตรงเวลา และป้องกันไม่ให้สินค้าได้รับความเสียหาย โดยเลือกใช้วิธีการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิเพื่อคงคุณภาพในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสินค้าอาหารแต่ละประเภท
แท้จริงแล้วกระบวนการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ มีความแตกต่างและเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร เพื่อช่วยให้ธุรกิจขอคุณสามารถเติบโตไปข้างหน้าได้ Cogistics ขอแนะนำบทความที่น่าสนใจโดยสามารถคลิก ที่นี่ ได้เลย!
CoGistics เราได้นำแนวคิดด้าน การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) มาพัฒนาบริการจัดหาวัตถุดิบประเภทผัก-ผลไม้แบบแช่แข็ง Veggie Industry เพื่อภาคอุตสาหกรรมอาหาร ให้เกิดเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยพันธมิตรเครือข่ายในแหล่งเพาะปลูกทั่วโลก รวมกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ในบริการลำเลียงและกระจายสินค้าอาหารแบบควบคุมอุณหภูมิ Food Pipeline ทำให้เรามีองค์ความรู้พร้อมช่วยอุตสาหกรรมอาหารแก้ไขปัญหาเรื่องวัถตุดิบผัก-ผลไม้ และสามารถควบคุมจัดการนำวัตถุดิบที่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการ (Right Product) พร้อมส่งโรงงานอุตสาหกรรมได้ตรงเวลา และอย่างสม่ำเสมอตลอด 365 วัน (Right Time) ไม่มีขาดส่ง อีกทั้งยังสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้คงที่ตลอดทั้งปี (Right Cost) เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน
สามารถสั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
Call: 02-328-6638
Line Official: @cogistics
Facebook: Cogistics Co., Ltd.
Email: salesorder@cogistics.co.th
แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร