คุณคงเคยได้ยินคำว่าโลจิสติกส์ (Logistics) กับ ซัพพลายเชน (Supply Chain Management) กันมาอย่างมากมาย แต่ใครหลาย ๆ คนก็ยังคงสับสนว่าจริง ๆ แล้วสองสิ่งนี้ เป็นการจัดการประเภทใด หรือยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับซัพพลายเชนที่ธุรกิจส่วนใหญ่ควรตระหนักถึงแต่มองข้ามไป ทำให้ธุรกิจของคุณนั้นยังมีจุดอ่อนหรือจุดเสี่ยงที่ทำให้ไม่กล้าจะขยายสู่ตลาดที่ใฝ่ฝัน และวันนี้ Cogistics มีคำตอบมาให้คุณ มาดูกันว่าโลจิสติกส์กับซัพพลายเชนแท้จริงแล้วคืออะไร สามารถช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไรบ้าง
หากจะพูดถึงโลจิสติกส์ (Logistics) ได้อย่างเข้าใจง่าย ๆ โลจิสติกส์ก็คือ กระบวนการหนึ่งในการจัดส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโลจิสติกส์ไม่ใช่แค่การขนส่งเพียงเท่านั้น แต่โลจิสติกส์จะทำหน้าที่เชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะการจัดหาวัตถุดิบ (Raw Material) หรือสินค้า (Goods) และบริการ (Services) การเคลื่อนย้ายจากต้นทาง (Source of Origin) ไปยังผู้บริโภคปลายทาง (Final Destination) เพื่อถึงที่หมายทันเวลา (Just in Time) และมีประสิทธิภาพ
คือการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างความสะดวกและความรวดเร็วในการวางแผนดำเนินงาน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการแผนโลจิสติกส์ ช่วยในการเก็บข้อมูล วางแผนกระบวนการต่าง ๆ อย่างเช่น การคาดการความต้องการของสินค้า (Demand Forecasting) เพื่อบริการลูกค้า (Customer Service) ซึ่งการที่จะให้การบริการที่สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการมีการบริหารจัดการสารสนเทศที่ดี
การบริหารการจัดซื้อเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญของโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดซื้อ (Purchasing) การจัดหา (Supply) และ เกี่ยวข้องกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) เป็นกระบวนการที่จะทำอย่างไรให้สามารถ จัดหาวัตถุดิบ ผลิต และจำหน่าย ได้ทันความต้องการของลูกค้า คุ้มค่า และเหมาะสมที่สุด
คือการจัดการคลังสินค้าให้เพียงพอและเหมาะสม ไม่ให้มากจนเกิดไปเพราะอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตาม หรือไม่ให้น้อยเกินไปจนทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นแล้วควรมีการบริหารสินค้าและคงคลังให้มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ
คือการวางแผนจัดการการขนส่งสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำหรือทางเรือ การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางทางรถไฟ หรือระบบราง การขนส่งทางระบบท่อ การขนส่งทางรถยนต์ รถบรรทุก หรือการ ขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ โดยจะต้องจัดส่งสินค้าให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามจำนวนในสภาพที่สมบูรณ์ มีการขนส่งที่ตรงต่อเวลา มีคุ้มค่าและประหยัดที่สุด
ซัพพลายเชน (Supply Chain Management) คือกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนผลิตสินค้ากระทั่งนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด โดยกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) จนไปถึงการขนส่ง (Transportation) ให้ถึงมือผู้บริโภค โดยทั้งหมดจะเชื่อมโยงกันด้วยข้อมูลและการสื่อสาร ซัพพลายเชนนั้นจะทำให้เห็นภาพรวมของทั้งธุรกิจชัดเจนขึ้น ช่วยให้ธุรกิจลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้นในอนาคต และเพื่อการมี Value Chain ที่ทำให้ธุรกิจในห่วงโซ่นี้สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ทุก ๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยสูญเสียผลประโยชน์ให้น้อยที่สุด
ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของผู้ผลิต มีองค์ประกอบหลักคือ การจัดหาซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่ดี เพื่อให้ได้ซึ่งการจัดซื้อวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ในราคาคุ้มค่า กับการนำมาใช้เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต
ห่วงโซ่อุปทานในระหว่างกระบวนการผลิต คือ การเปลี่ยนจากวัตถุดิบที่จัดซื้อ เข้ามาสู่การผลิตและแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการออกสู่ท้องตลาด เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยน Input ให้เป็น Output โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก ๆ คือผู้ผลิต (Manufacturer) โดยการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและตรงตามมาตรฐาน ไปจนถึงขั้นตอนการจัดเก็บสต็อกสินค้าอย่างมีระเบียบ มีพื้นที่เหมาะสม
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดส่ง ขนส่ง สินค้าไปสู่มือผู้บริโภค หลังจากผ่านการนำเข้าวัตถุดิบ การผลิต และท้ายที่สุดคือการจัดส่งให้ถึงมือลูกค้า ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องหลัก ๆ คือ ช่องทางการซื้อขาย การขนส่งสินค้า และความพึงพอใจของลูกค้าเมื่อได้ใช้งานสินค้า
1. กระบวนการจัดหา Procurement
นี่คือปัจจัยสำคัญลำดับแรกของกระบวนการจัดการ Supply Chain การมีผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ที่ดี มีฝ่ายจัดหาต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดซื้อและคัดสรรวัตถุดิบ จะทำให้การได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ คุ้มค่าคุ้มราคา ในราคาและจำนวนที่เหมาะสม
2. การผลิต Manufacturing
เมื่อได้วัตถุดิบมาแล้วก็เข้าสู่กระบวนการผลิต การนำเอาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการ การผลิตจะช่วยให้การผลิตได้คุณภาพ ตรงตามมาตรฐานความพึงพอใจของลูกค้า และทำให้เราทราบถึงขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ สามารถที่จะตรวจสอบได้
3. การตลาด Marketing
การตลาด ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจนั้นน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การโฆษณา, สร้างโปรโมชั่น, กำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสม ฯลฯ กระบวนการเหล่านี้คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างคุ้มค่า เพราะถ้าผลิตมาแต่การตลาดไม่ดีก็มีสิทธิ์จมทุน
4. การกระจายสินค้า Distribution
Supply Chain จะเน้นไปที่เรื่องของสต็อกสินค้า หลักจากการผลิตจะมีการกระจายไปไว้ตามสต็อกต่างๆ เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง และการเก็บรักษา และรอการจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายต่าง ๆ
5. การขนส่ง Logistics
การขนส่ง Logistics Supply Chain คือ การขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่ได้ตกลงกันไว้อย่างตลาด Modern Trade หรือผู้จะเป็นผู้บริโภคเองนั้น ความสำคัญของระบบขนส่งคือ ต้องตรงเวลา สินค้าได้รับต้องไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดการสูญเสียไประหว่างทาง
1.เห็นภาพรวมที่แท้จริงของธุรกิจ (Bird Eye’s View)
เพราะการจัดการซัพพลายเชนจำเป็นต้องมีข้อมูลทุกอย่าง จึงทำให้ธุรกิจมีมุมมอง 360 องศา ทำให้ผู้บริหารทราบถึงปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ แก้ไขและพัฒนา เพื่อให้ธุรกิจมีการดำเนินงานที่ดีขึ้นได้อย่างตรงจุด สามารถนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในอนาคต
2.ลดต้นทุนโดยรวมของอุตสาหกรรม (Zero Waste)
เนื่องจากการจัดการซัพพลายเชนจะใช้หลัก Zero waste เป็นกระบวนการที่ปรับตัวเองให้คล่องตัว (Lean Management) กำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าที่อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจ ดังนั้นจะมีการตรวจสอบในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น การจัดซื้อ การจัดเก็บสินค้า เพื่อไม่ให้มีการจัดซื้อวัตถุดิบมากเกินไปที่อาจส่งผลต่อค่าใช้จ่าย และจัดเก็บสินค้านานเกินไปจนทำให้เสื่อมคุณภาพ ราคาตก หรือที่เรียกว่าเงินจมได้
3. ระบบแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Integration)
จากการจัดการซัพพลายเชนจะทำให้ธุรกิจรู้ได้ทันทีว่าส่วนไหนที่อาจทำให้เกิดปัญหา ทำให้มีการแก้ไขที่รวดเร็วและทันท่วงที ไม่ทำให้เกิดเป็นผลกระทบขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจและจะกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต เพื่อสนับสนุนความต้องการของลูกค้าและปรับปรุงประสบการณ์การซื้อ
ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะ Logistics หรือ ระบบ Supply Chain ทุกธุรกิจก็จำเป็นต้องมีในระบบการจัดการเพื่อการผลิต ส่งมอบ และจัดจำหน่ายสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค ธุรกิจจะดำเนินต่อไปได้หากการจัดการนั้นเกิดความสัมพันธ์ที่ดีและมีจุดประสงค์เดียวกันระหว่าง Supplier ผู้ผลิต จนไปถึงผู้บริโภค อย่างไรก็ตามวันนี้เราสามารถพูดได้ว่า เราเป็น Solution Provider ที่ใช้ระบบซัพพลายเชนมาช่วยทุกธุรกิจได้อย่างลงตัว และสามารถทำให้หลาย ๆ ธุรกิจสามารถเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้โดยผลประโยชน์นั้นเป็นที่น่าพอใจให้กับทุก ๆ ฝ่ายมาตลอด
บริษัทโคจิสติกส์เป็นผู้นำระบบการจัดการด้านซัพพลายเชนมาแก้ปัญหาการจัดหาวัตถุดิบประเภทผักแช่แข็ง และ ผลไม้แช่แข็ง พร้อมใช้ และ ขนส่งควบคุมอุณหภูมิ รถห้องเย็น ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมากว่าสิบปี เป็นเบื้องหลังของความสำเร็จให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารชั้นนำของประเทศมากว่าทศวรรษ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.cogistics.co.th