February 29, 2024
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

รอบรู้เรื่อง Food Safety สิ่งสำคัญที่โรงงานผลิตอาหารต้องใส่ใจ

รอบรู้เรื่อง Food Safety สิ่งสำคัญที่โรงงานผลิตอาหารต้องใส่ใจ

ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้นทุกปี ดังนั้นโรงงานผลิตอาหารจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและรักษาภาพลักษณ์ของธุรกิจ ซึ่งการผลิตอาหารในโรงงานเป็นกระบวนการที่หลากหลายขั้นตอนและเต็มไปด้วยความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้การรักษามาตรฐานในด้าน Food Safety เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและภาพลักษณ์ของกิจการในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่เคร่งครัด อาจจะพบกับความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อันตรายในอาหาร (Food Hazard) หรือสิ่งปนเปื้อนในอาหาร การสร้างแหล่งเชื้อโรค จนอาจตามมาด้วยการถูกลงโทษด้านกฎหมาย

อย่างไรก็ตามการดำเนินการตามมาตรฐาน Food Safety ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดาย เนื่องจากต้องการการควบคุมและการจัดการที่เข้มงวดทั้งในระดับบุคลากรและกระบวนการผลิต เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนของการผลิตได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัด จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมพนักงานอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร การป้องกันสิ่งปนเปื้อนในอาหาร หรือการจัดการสารเคมี รวมถึงการควบคุมความสะอาดของสถานที่ผลิต โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้สินค้าอาหารปลอดภัยต่อการบริโภคเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อกิจการอีกด้วย

โดยบทความในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความหมายของ Food Safety ว่าคืออะไร ทำไมจึงมีความสำคัญและโรงงานผลิตอาหารควรใส่ใจเรื่องนี้อย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลย

Food Safety (ความปลอดภัยของอาหาร) คืออะไร?

Food Safety (ความปลอดภัยของอาหาร) คืออะไร?

Food Safety หรือความปลอดภัยของอาหาร หมายถึง การจัดการให้อาหารที่นำมาบริโภคมีความปลอดภัย โดยไม่มีสิ่งปนเปื้อนในอาหาร หรืออันตรายในอาหาร (Food Hazard) จากอันตรายทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ ตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การจัดเก็บ การขนส่ง การจำหน่าย ตลอดจนถึงการบริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพนั่นเอง

ทำไม Food Safety ถึงมีความสำคัญ?

การให้ความสำคัญกับ Food Safety เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และส่งเสริมให้ธุรกิจอาหารเติบโตอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงงานผลิตอาหาร โดยความปลอดภัยของอาหารมีความสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ดังนี้

  • ความสำคัญต่อผู้บริโภค
    • ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหาร
    • ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย เกิดผลดีต่อสุขภาพอนามัย
    • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากอาหาร ปราศจากสารปนเปื้อน
  • ความสำคัญต่อผู้ประกอบการ
    • ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจ
    • ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์และองค์กร
    • ช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด
    • ช่วยให้มีพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบบริหารงานอย่างมีคุณภาพ
    • ช่วยให้มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างเป็นระบบ
    • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จัก 3 ประเภทของอันตรายในอาหาร (Food Hazard)

รู้จัก 3 ประเภทของอันตรายในอาหาร (Food Hazard)

อันตรายในอาหาร (Food Hazard) หมายถึง สารปนเปื้อนหรือสิ่งปนเปื้อนในอาหารที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคเมื่อรับประทานเข้าไป และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการบริโภค โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. อันตรายทางกายภาพ (Physical Hazard)
    วัตถุแปลกปลอมที่เจือปนอยู่ในอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคมากที่สุด เนื่องจากทำให้ได้รับอันตรายทันทีเมื่อรับประทานเข้าไป และง่ายการระบุหรือจับต้องได้ เช่น เศษเปลือกสัตว์หรือพืชผล เศษแก้ว หิน ดิน ทราย หรือวัตถุที่มาจากการบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น
  2. อันตรายทางชีวภาพ (Biological Hazard)
    อันตรายที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ พยาธิ หรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโดยใช้อาหารเป็นสื่อนำ หากผู้บริโภครับประทานเข้าไป อาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือมีปัญหาทางสุขภาพได้
  3. อันตรายทางเคมี (Chemical Hazard)
    สารเคมี หรือสารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ซึ่งโอกาสเจือปนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การเพาะปลูกหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร การผลิต การแปรรูป หรือการบรรจุหีบห่อ ตลอดจนการส่งมอบไปจนถึงผู้บริโภค เช่น ยาฆ่าแมลง สารปรุงแต่ง หรือสารเคมีทำความสะอาด

ซึ่งอันตรายในอาหาร หรือ Food Hazard เป็นสิ่งสำคัญที่อุตสาหกรรมอาหารหรือโรงงานผลิตอาหารต้องระวังและให้ความสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยของอาหารอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งตรวจสอบ ป้องกัน และควบคุมทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตสินค้าอาหาร และให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อและปรุงอาหารอย่างปลอดภัย เพื่อลดการเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจอีกด้วย

หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร

หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร คือ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันอันตรายในอาหาร ตลอดห่วงโซ่อาหาร ซึ่งมุ่งเน้นให้การผลิตและจัดจำหน่ายอาหารเป็นไปตามข้อกำหนดที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยส่วนใหญ่จะเป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดโดยองค์กรระดับสากลและองค์กรระดับชาติ หรือการกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมจากหน่วยงานรัฐบาล หรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ตัวอย่างของหลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร

  • มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices)
    มาตรฐาน GMP คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร ยา เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย
  • มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point System)
    HACCP คือ ระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้การควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และลดการกีดกันทางการค้าของประเทศนำเข้า ซึ่ง ระบบ HACCP ยึดหลักเกณฑ์ตามโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) ซึ่งสามารถป้องกันอันตรายในอาหาร (Food Hazard) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มาตรฐาน SQF 2000 (Safe Quality Food)
    SQF 2000 คือ มาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่ได้รับการพัฒนาและออกแบบโดย AGWEAT Trade & Development (AT&D) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลีย เป็นการนำหลักของระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมหรือ HACCP ตามแนวทางของ Codex Alimentarius Commission Guidelines มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบบริหารงานควบคุมคุณภาพ ISO 9000
  • ระบบมาตรฐาน ISO 9000 (International Organization for Standardization)
    ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 คือ การจัดการระบบบริหารเพื่อประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้โดยผ่านระบบเอกสาร ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่วัดระดับคุณภาพองค์กรด้านการบริการงานคุณภาพและประกันคุณภาพสินค้า ซึ่งมาตรฐาน ISO 9000 สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 5 ฉบับ ได้แก่ ISO 9000, ISO 9001, ISO 9002, ISO 9003, ISO 9004 เป็นต้น

มาตรฐานที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของหลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งยังมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานอีกมากมายที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าและกิจการ เช่น หลักสุขาภิบาลทั่วไป (GHP), ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (FSMS) หรือมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากลที่เกิดจากสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร BRC (British Retail Consortium) เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง: ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย
https://www.nfi.or.th/foodsafety/qs.php

Veggie Industry ระบบจัดหาวัตถุดิบผักผลไม้แช่แข็งที่ได้มาตรฐานสากล

Cogistics เราคือทางเลือกที่ดีสำหรับโรงงานผลิตอาหาร หรือธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการใช้วัตถุดิบผักแช่แข็งหรือผลไม้แช่แข็งผ่านบริการ Veggie Industry โดยเราจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐาน GMP / HACCP และฮาลาล (Halal) เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าอาหารได้อย่างมั่นใจ

  • เราบริหารจัดการวัตถุดิบด้วยแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างเป็นระบบ
  • เราสามารถจัดหาวัตถุดิบผักและผลไม้แช่แข็งได้มากกว่า 100 ชนิด จากแหล่งเพาะปลูกทั่วโลก
  • เราสามารถจัดหาวัตถุดิบได้ตรงตามความต้องการ (Right Product) จัดส่งได้อย่างตรงเวลาและสม่ำเสมอ 365 วัน (Right Time) อีกทั้งยังช่วยควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้ตลอดทั้งปี (Right Cost)

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

 

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร