ในยุคที่โลกเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เศรษฐกิจโลกผันผวน และเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) ทั่วโลกต่างเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารในไทยเองด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายสำคัญของโลก ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ประกอบการ เกษตรกร ผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปเจาะลึกกับ 9 ปัญหาใหญ่ที่อุตสาหกรรมอาหารไทยไม่ควรมองข้าม ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการจัดจำหน่ายอาหารที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ตามอ่านต่อด้านล่างได้เลย
ปัญหาสำคัญที่อุตสาหกรรมด้านอาหารในไทยต้องเผชิญคือ การขาดแคลนแรงงานและปัญหาด้านบุคลากร ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยประชากรในไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้จำนวนแรงงานวัยทำงานลดลง ขณะที่ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารยังคงสูงขึ้น หรือปัญหาทักษะแรงงานไม่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารไทย ส่วนใหญ่ขาดทักษะที่จำเป็นในการทำงาน จึงทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงความปลอดภัยที่เสี่ยงต่ออันตรายในการทำงานอีกด้วย ตลอดจนปัญหาการได้รับค่าตอบแทนต่ำและไม่เปิดโอกาสให้ก้าวหน้าในอาชีพ จึงทำให้อัตราการลาออกสูงและมีความยากลำบากในการจัดหาและรักษาพนักงานเอาไว้
ปัญหาต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งโลกที่ร้อนขึ้นจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ อย่างล่าสุดกับ “ปรากฎการณ์เอลนีโญ” จึงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก หรือแม้กระทั่ง “ความขัดแย้งทางสงคราม” ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้ความต้องการด้านวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงทำให้ราคาวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้นและมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็มีส่วนทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจนกระทบต้นทุนการขนส่ง ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่ใช้พลังงาน หรือค่าธรรมเนียมและภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) ยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมอาหารที่องค์กรต่าง ๆ ต้องรักษามาตรฐานระดับสูงด้านความปลอดภัยของอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัยในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะในแต่ละกระบวนการของห่วงโซ่อุปทานที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนหากไม่มีการควบคุมที่เพียงพอ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกจึงได้มีการออกกฎระเบียบความปลอดภัยของอาหารที่เข้มงวดขึ้น เพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้นการมีมาตรฐานที่รับรองด้าน Food Safety จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจอาหารไม่ควรละเลยและต้องใส่ใจเป็นอย่างมากนั่นเอง
สาเหตุของปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) ในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ขั้นตอนการผลิตของห่วงโซ่อาหาร เช่น เศษอาหารเหลือทิ้งจากวัตถุดิบในการประกอบอาหาร หรือวัตถุดิบที่หมดอายุจากการบริหารจัดการที่ไม่มีคุณภาพของธุรกิจร้านอาหาร ตลอดจนปัญหาการสูญเสียอาหาร (Food Loss) หรือหมายถึงการลดลงของมวลอาหารที่สามารถนำมาบริโภคได้ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป จนถึงการขนส่งไปยังปลายทาง เนื่องจากระบบห่วงโซ่อุปทานที่ไร้ประสิทธิภาพจนเกิดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต รวมถึงการผลิตอาหารที่ล้นความต้องการของผู้บริโภค จนทำให้มีอาหารเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จนส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากขาดแคลนอาหารในขณะที่ยังมีอาหารจำนวนมากถูกทิ้ง ไม่เพียงเท่านี้สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากการย่อยสลายของขยะอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาบูรณาการเข้ากับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แต่นับว่าเป็นความท้าทายใหม่ที่ทำให้กลายเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจอาหารด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหรือบุคลากรอาจขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือบางองค์กรอาจมีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้เทคโนโลยี หรือพนักงานขาดแรงจูงใจ และได้รับการฝึกอบรมไม่เพียงพอ รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการรายย่อยต่างมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี เนื่องจากราคาที่สูงและความซับซ้อนในการใช้งานจนทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขันและอาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปได้
การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากส่งผลกระทบตั้งแต่ภาคเกษตรกรไปจนถึงผู้ผลิตอาหารและผู้ค้าปลีกปลายทาง โดยสาเหตุที่ให้ห่วงโซ่ต้องหยุดชะงักเป็นเพราะปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติที่ส่งผลต่อการผลิตและการกระจายสินค้า หรือความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ และการพึ่งพาซัพพลายเออร์จากต่างประเทศ ล้วนมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทั้งสิ้น จนทำให้เกิดการชะลอตัวของภาคการผลิต หรือไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญและส่งผลต่อธุรกิจอาหารทั้งในแง่ของโอกาส และความท้าทาย จึงทำให้ผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ และพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น เทรนด์อาหารจากพืช (Plant Based) สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นโดยหันมาทานอาหารมังสวิรัติหรือวีแกน และลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลด หรือความนิยมในการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงต้องการอาหารที่สะดวก รวดเร็ว ทานง่าย ทานได้ทุกที่ทุกเวลาในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคใช้ชีวิตแบบเร่งรีบอย่างในปัจจุบัน เป็นต้น
อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ แต่ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมนี้ก็เผชิญกับปัญหาการแข่งขันสูงเนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดอาหารอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีคู่แข่งขันมากขึ้น รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร (Meal Replacement) หรืออาหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนมื้ออาหารปกติเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด จึงทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ความอิ่มตัวของตลาดอาจนำไปสู่สงครามราคา ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีกำไรลดลง จากการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งอาจะทำให้ขายสินค้าได้น้อยลงนั่นเอง
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงเป็นเพราะผลกระทบต่อรายได้จึงส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อันเป็นผลให้ยอดขายและรายได้ของธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารลดลงไปด้วยนั่นเอง นอกจากนี้ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคอื่น ๆ ต่างก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างประเทศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด เช่น COVID-19 หรือแม้กระทั่งนโยบายภาครัฐที่กระทบต่อ Food Industry โดยตรง ด้วยความแน่นอนของปัจจัยดังกล่าวที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวนั่นเอง
ท่ามกลางวิกฤตและความท้าทายที่ถาโถมเข้าใส่อุตสาหกรรมอาหารไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงและไม่สามารถมองข้ามปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไปได้ เรา “Cogistics” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) พร้อมเป็นเพื่อนคู่คิดยืนหยัดเคียงข้างผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารในไทย เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกัน โดยการนำเสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณผ่าน 2 บริการหลัก ได้แก่
บริการที่จะช่วยจัดการกับปัญหาราคาวัตถุดิบผันผวน หรือปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนด้วยระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ โดยวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำและลดการสูญเสียของวัตถุดิบเหลือทิ้ง โดยการตัดแต่งวัตถุดิบและเลือกเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งานเท่านั้น อีกทั้งยังช่วยคุณควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างคงที่ตลอดทั้งปีอีกด้วย
บริการที่จะช่วยคุณในการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าอาหารแบบ ระบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) ในทุกขั้นตอนการกระจายสินค้าไปสู่ช่องทางจัดจำหน่ายโมเดิร์นเทรดทุกช่องทางทั่วประเทศไทย โดยช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าด้วยระบบ Share Bus-Share Asset ร่วมกับธุรกิจอาหารเจ้าอื่นที่ส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน และเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสามารถรับรู้ทุกขั้นตอนการทำงานได้แบบ Visible Process รวมถึงตรวจเช็กสถานะการขนส่งได้แบบเรียลไทม์ผ่าน GPS Tracking
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
Call: 02-328-6638
Line Official: @cogistics
Facebook: Cogistics Co., Ltd.
Email: salesorder@cogistics.co.th
แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร