ถ้าคุณคือผู้ประกอบการในวงการธุรกิจอาหารหรืออุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะในไทยหรือผู้ผลิตที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ แน่นอนว่าหนึ่งสิ่งที่ต้องใส่ใจไม่แพ้การคัดเลือกวัถตุดิบ หรือการผลิตสินค้า คือเรื่อง “การขนส่งโลจิสติกส์” นั่นเอง เพราะสินค้าอาหารจำนวนมากที่ผลิตออกมามักจะได้รับเสียหายจากการขนส่งกระจายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากการขนส่งที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับประเภทสินค้าจนทำให้เกิดเน่าเสีย เกิดเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วก่อนเวลา หรือได้รับความเสียหายจากการกระแทกเพราะขนส่งไม่ได้มาตรฐาน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการพัฒนาโซ่ความเย็น หรือ Cold Chain Logistics สำหรับระบบโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรมอาหารขึ้นมาที่จะทำให้ระบบขนส่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยลดการสูญเสีย (Food Loss) และรักษาคุณภาพของสินค้าอาหารให้สดใหม่ มีความปลอดภัย (Food Safety) และปราศจากสิ่งปนเปื้อนตลอดกระบวนการ โดยการคำนึงถึงอุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับสินค้า รวมไปถึงอายุการเก็บรักษาสินค้า (Shelf Life) เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าจะปลอดภัยและไม่ได้รับความเสียหายตลอดห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมและธุรกิจอาหารจึงต้องพึ่งพาบริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ เป็นหลักในการกระจายสินค้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายนั่นเอง
ระบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิ หรือ Cold Chain Logistics คือ กระบวนการจัดการกิจกรรมในการเก็บรักษาและกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ โดยการใช้คลังสินค้าห้องเย็นและรถห้องเย็น ฯลฯ เพื่อให้สินค้าคงความสดใหม่ รักษาคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษา ด้วยการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับประเภทสินค้าในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดเก็บและขนส่งเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ อาหารสำเร็จรูป อาหารทะเล เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากนม หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์กลุ่มยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
โดยทั่วระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนระบบโลจิสติกส์เพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
1. ระบบทำความเย็น (Cooling System)
การลดและรักษาระดับอุณหภูมิหรือการทำความเย็น เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมหรือพื้นที่จัดเก็บมีความเหมาะสมในการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า โดยให้ความสำคัญในเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น และความเข้าใจในสินค้า เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีทำความเย็นได้เหมาะกับประเภทของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำแข็ง น้ำเย็น การแช่แข็ง หรือการใช้ระบบสุญญากาศ เป็นต้น
2. คลังสินค้าห้องเย็น (Cold Storage)
พื้นที่จัดเก็บสินค้าที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในให้มีความเหมาะสม สำหรับการจัดเก็บสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนเข้าสู่กระบวนการกระจายสินค้าในขั้นต่อไป เพื่อการเก็บรักษาสินค้าในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความชื้นคงที่อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งอุณหภูมิภายในคลังสินค้าห้องเย็นทั่วไปแล้วจะต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียล จนถึงอุณหภูมิติดลบขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่จัดเก็บในคลังห้องเย็น
3. รถห้องเย็น (Cold Transport)
ยานพาหนะหลักที่ใช้ในการขนส่งเย็น เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังห้องเย็นไปสู่จุดจำหน่ายสินค้า หรือปลายทางที่ต้องการจัดส่ง ซึ่งเป็นรถขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้คงที่ในระบบปิด เพื่อคงความสมบูรณ์ของสินค้า ป้องกันการปนเปื้อน และทนต่อสภาพอากาศภายนอกตลอดเส้นทางการขนส่ง โดยรถส่วนใหญ่จำเป็นจะต้องมีตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และเหนี่ยวนำความเย็นได้เป็นอย่างดีสำหรับการบรรทุกสินค้านั่นเอง
4. การแปรรูปและการจัดจำหน่าย (Cold Processing and Distribution)
กระบวนการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบรรจุภัณฑ์ การแปรรูปสินค้า การรวมและแยกส่วนประกอบเพื่อการการกระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน กระบวนการบรรจุ และการรับรองด้านสุขอนามัย เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและลดการสูญเสียในระหว่างการขนส่ง
กระบวนการขนส่งควบคุมอุณหภูมิของแต่ละที่และประเภทสินค้า จะมีรายละเอียดรวมถึงวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการจัดเก็บและการกระจายสินค้าเป็นหัวใจสำคัญของ Cold Chain Logistics โดยที่บริหารจัดการโซ่ความเย็นให้สอดคล้องกับอายุการเก็บรักษาสินค้าและจัดการระยะเวลาในกระบวนการให้สั้นที่สุด โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังนี้
1. กระบวนการผลิต
สินค้าบางประเภทในภาคอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มสินค้าอาหาร ยา หรือเวชภัณฑ์ โดยส่วนมากจะมีการควบคุมอุณหภูมิตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการเตรียมจัดเก็บหรือจัดส่ง เพื่อช่วยลดการสูญเสียคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดการปนเปื้อนและยืดอายุการใช้งานของผลผลิตได้อีกด้วย
2. การจัดเก็บสินค้า
การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าห้องเย็น ไม่ว่าจะรูปแบบระยะยาวหรือระยะสั้น สำหรับการแปรรูป การบรรจุในบรรจุภัณฑ์ หรือการจัดเก็บในคลังเพื่อกระจายสินค้า โดยใช้การจัดเก็บแบบควบคุมอุณหภูมิทั้งสิ้น ซึ่งการจัดเก็บจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ขนาด ปริมาณ และที่ตั้งของคลังสินค้า
3. การบรรจุและการดำเนินการในห้องเย็น
การบรรจุและการแปรรูปสินค้าจะดำเนินกิจกรรมภายในพื้นที่ควบคุมอุณหภูมิหรือห้องเย็นอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเลือกใช้บรรจุภัณฑ์และการบรรจุที่เอื้อต่ออายุการเก็บรักษาของสินค้าร่วมด้วย
4. การกระจายสินค้า
การขนส่งและการกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิด้วยรถห้องเย็น ภายในรถขนส่งระบบปิดที่รักษาและควบคุมอุณหภูมิได้อย่างคงที่ ไม่ให้สภาพอากาศภายนอกเข้ามากระทบอุณหภูมิภายในระหว่างการขนส่งตลอดเส้นทางการลำเลียงจนถึงสถานที่ปลายทาง
5. การจำหน่ายสู่ผู้บริโภค
จุดจำหน่ายหรือที่จัดวางสินค้า รวมถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่จัดจำหน่าย ก็ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค เช่น ตู้แช่เย็น-ตู้แช่แข็ง จุดโชว์สินค้า หรือสถานที่จัดเก็บในคลังร้านค้าปลีก เป็นต้น
ที่มา: กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สศช.
ข้อมูลอ้างอิง: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11222&filename=index
เราคือผู้ให้บริการ Food Logistics ด้วยระบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิ ผ่านบริการ FOOD PIPELINE ระบบท่อลำเลียงและกระจายสินค้าอาหารแบบควบคุมอุณหภูมิ เพื่อกระจายสินค้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศไทย โดยรวมทุกช่องทางโมเดิร์นเทรดไว้ด้วยกันในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น Hypermarket Supermarket และ Convenience Store ด้วยการใช้ระบบเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางโมเดิร์นเทรดทุกเจ้า Link System (WMS+TMS) ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐาน ISO / GMP / HACCP เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าสินค้าอาหารของคุณจะปลอดภัย ไร้สิ่งปนเปื้อน ไม่เน่าเสียตลอดการกระจายสินค้าด้วยความเป็นเลิศด้านบริการจากเรา Cogistics
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
Call: 02-328-6638
Line Official: @cogistics
Facebook: Cogistics Co., Ltd.
Email: salesorder@cogistics.co.th
แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร