June 20, 2025
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) และบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) และบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

แม้เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่ยังคงเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหรือรายได้ของเกษตรกรไทย และยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคเอกชน โดยช่วยลดความเสี่ยงของผู้ผลิตและผู้รับซื้อเนื่องจากมีรูปแบบสัญญาที่แน่นอน และทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิต การจัดซื้อ และบริหารคลังสินค้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

ซึ่ง “เกษตรพันธสัญญา” ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ความต่อเนื่องของวัตถุดิบที่ส่งเข้าสู่สายพานการผลิต รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ถึงที่มาของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารได้อีกด้วย

บทความนี้จึงขอพาไปเจาะลึกถึงหลักการและรูปแบบของเกษตรพันธสัญญา ตลอดจนบทบาทที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของ Contract Farming ในการเป็นฟันเฟืองสำคัญเพื่อการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างยั่งยืน และส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป

 

Contract Farming คืออะไร?

Contract Farming คืออะไร?

เกษตรพันธสัญญา หรือ Contract Farming คือ รูปแบบสัญญาที่มีข้อตกลงร่วมกันระหว่าง “เกษตรกร” และ “ผู้ประกอบการ” โดยมีข้อตกลงล่วงหน้าเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งเรื่องของปริมาณผลผลิต คุณภาพ มาตรฐานการผลิต ราคาซื้อขาย รวมถึงกรอบระยะเวลาในการส่งมอบที่ตกลงซื้อขายกันล่วงหน้า โดยทางผู้รับซื้อจะให้การสนับสนุนแก่เกษตรกรในรูปแบบของปัจจัยที่เอื้อต่อการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา เครื่องมือทางการเกษตร หรือแม้กระทั่งองค์ความรู้ในการเพาะปลูกหรือการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ซึ่งรูปแบบสัญญา Contract Farming เป็นหนึ่งเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการจัดหาผลผลิตทางการเกษตรทั้งรูปแบบพืชและสัตว์ โมเดลนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาด้านความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระบบการเกษตรแบบดั้งเดิม และเพื่อสร้างระบบที่เป็นประโยชน์ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการอีกด้วยนั่นเอง

 

รูปแบบของเกษตรพันธสัญญา

รูปแบบของเกษตรพันธสัญญา

ระบบเกษตรพันธสัญญาจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลักที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่

  1. การประกันรายได้: รูปแบบที่ผู้ประกอบการจะเป็นผู้ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน และส่งปัจจัยการผลิตจากทางบริษัทให้ โดยเกษตรกรจะเป็นผู้ลงทุนด้านต้นทุนคงที่ เช่น โรงเรือน ฟาร์มเพาะปลูก และทางบริษัทจะซื้อขายผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญา
  2. การประกันราคา: รูปแบบที่ผู้ประกอบการจะเป็นผู้ควบคุมการผลิตบางส่วน โดยเกษตรกรมีบทบาทเป็นผู้ร่วมทุนอย่างปัจจัยการผลิตที่ได้รับจะถูกหักเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อส่งมอบผลผลิตให้แก่บริษัท และทางผู้ประกอบการจะชำระส่วนต่างของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบการผลิต
  3. การประกันตลาด: รูปแบบที่เกษตรกรจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดทั้งต้นทุนคงที่และปัจจัยการผลิต โดยที่ผู้ประกอบการไม่ได้เข้ามาควบคุมการผลิต แต่ผลผลิตที่รับซื้อจะต้องมีคุณภาพและปริมาณตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยอาจไม่ได้ระบุราคาซื้อขายที่แน่นอนล่วงหน้า แต่จะใช้ราคาตลาด ณ เวลาที่ส่งมอบเป็นเกณฑ์

 

เกษตรพันธสัญญา ข้อดี ข้อเสียมีอะไรบ้าง

ข้อดีของเกษตรพันธสัญญา

  • เกษตรกรมีผลผลิตที่ตลาดรองรับแน่นอน เนื่องจากมีการทำสัญญาล่วงหน้า
  • ลดความผันผวนของราคา ด้วยการระบุราคาขั้นต่ำหรือเงื่อนไขการรับซื้อในสัญญา
  • ผลผลิตมีมาตรฐานเดียวกันและตรงตามความต้องการของตลาด
  • เกษตรกรได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต และได้พัฒนาทักษะองค์ความรู้
  • ช่วยสร้างความมั่นคงในห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) ให้การจัดหาวัตถุดิบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสียของเกษตรพันธสัญญา

  • ข้อสัญญาอาจไม่เป็นธรรม หากเกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรองกับภาคเอกชน
  • เกษตรกรอาจถูกจำกัดสิทธิในการเลือกตลาดและเสี่ยงต่อการผูกขาดกับผู้รับซื้อรายเดียว
  • เงินลงทุนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ที่เกิดขึ้น และใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน
  • เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงต่อคุณภาพของผลผลิตหากไม่ผ่านเกณฑ์ตามสัญญา

 

บทบาทของเกษตรพันธสัญญาในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบภายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ระหว่างต้นน้ำหรือเกษตรกรกับบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายให้กลายเป็น “พันธมิตรทางธุรกิจ” ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบระยะยาวที่เอื้อให้ห่วงโซ่อุปทานมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยช่วยลดความไม่แน่นอน เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความร่วมมืออย่างเป็นระบบร่วมกัน

ประโยชน์ของเกษตรพันธสัญญาต่อภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกร

ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม

  • วางแผนจัดหาวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำด้วยการทำสัญญาล่วงหน้ากับเกษตรกรด้วยรูปแบบระบบเกษตรพันธสัญญา
  • ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้อย่างสม่ำเสมอ โดยการกำหนดมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ
  • สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ถึงที่มาของวัตถุดิบภายในห่วงโซ่อุปทานได้
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพและต้นทุนที่สามารถควบคุมได้
  • สร้างภาพลักษณ์องค์กรด้านความยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นตามหลักเกษตรพันธสัญญา

ประโยชน์ต่อเกษตรกร

  • เกษตรกรมีหลักประกันความมั่นคงด้านรายได้และตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน
  • ลดความเสี่ยงจากการขายผลผลิตไม่ได้หรือราคาผันผวนตามฤดูกาล
  • เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือทักษะใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ
  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและปัจจัยการผลิตได้ง่ายขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม

 

Cogistics ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรในระบบ Contract Farming เพื่อคุณภาพวัตถุดิบที่ดีที่สุดแก่ธุรกิจคุณ

Cogistics ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรในระบบ Contract Farming เพื่อคุณภาพวัตถุดิบที่ดีที่สุดแก่ธุรกิจคุณ

Cogistics” พร้อมเป็นพันธมิตรสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร ที่ช่วยยกระดับมาตรฐานวัตถุดิบของคุณผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา โดยทุกโรงงานผักผลไม้แช่แข็งในเครือข่ายของเราใช้ระบบจัดการฟาร์มแบบ Contract Farming โดยสามารถเข้าไปควบคุมคุณภาพวัตถุดิบตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก เพื่อส่งต่อวัตถุดิบผักผลไม้แช่แข็งคุณภาพสูงที่ได้มาตรฐานสากลให้กับธุรกิจของคุณอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ผ่านบริการ “VEGGIE INDUSTRY” ระบบจัดหาวัตถุดิบผัก-ผลไม้แช่แข็งสำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อกระบวนการผลิตในธุรกิจอาหารขนาดใหญ่และภาคอุตสาหกรรม

คลิกดูผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แช่แข็งเพิ่มเติมจาก Cogistics: รวมวัตถุดิบ ผักแช่แข็ง-ผลไม้แช่แข็ง จาก Veggie Industry กว่า 100 ชนิด เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร