Soft Power คำคุ้นหูที่หลายคนมักได้เห็นและได้ยินกันบ่อยในช่วงหลายปีนี้ ซึ่ง Soft Power คือ การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือวิถีชีวิต ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด หรือพฤติกรรมความชอบของผู้คนโดยที่ไม่ได้ใช้อำนาจในการบังคับอย่าง Hard Power ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ต้องการ ซึ่งช่วงที่ผ่านมา Soft Power เองถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อโน้มน้าวผู้คนและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าในหลายประเทศมากมาย เช่น อาหาร ศิลปะ หรือความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ
ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่อง “อาหาร” ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในด้านรสชาติ กลิ่นหอม ความหลากหลาย และความพิถีพิถันในการปรุงรส ทำให้อาหารไทยได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก จนได้รับการเสนอชื่อให้เป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ในปี 2564 รวมไปถึงอาหารไทยมีมูลค่าตลาดถึง 1.1 ล้านบาท โดยคิดเป็น 70% ของสัดส่วนมูลค่าสินค้าส่งออกของไทยในประเภทสินค้าอาหารทั้งหมด
โอกาสนี้จึงทำให้รัฐบาลไทยพยายามผลักดันอาหารไทยให้กลายเป็น Soft Power สำคัญในการสร้างจุดขายให้กับประเทศและสร้างโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านโครงการ 5F 1. Fight (มวยไทย) 2. Food (อาหาร) 3. Festival (ประเพณีไทย) 4. Film (ภาพยนตร์) 5. Fashion (แฟชั่น) สู่สายตาชาวโลก
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหารและโรงงานผลิตอาหาร มีบทบาทและได้รับโอกาสสำคัญที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอาหารไทย วัตถุดิบสินค้าเกษตร และสินค้าอาหารประเภทอื่นอีกมากมาย โดยสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศและธุรกิจของตัวเองให้เติบโตร่วมกันไปได้อีกด้วย
Krungthai COMPASS มีการคาดการณ์แนวโน้มในช่วงปี 2567-2573 ว่าอาหารไทยจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสะสมให้กับสินค้าส่งออกของไทยในกลุ่มอาหารไทยและวัตถุดิบ เช่น เครื่องปรุงรส และสินค้าอาหารพร้อมปรุงถึง 75,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าการส่งออกอาหารทั้งหมด และในส่วนของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสะสมได้ถึง 206,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17.2% ของรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
จากผลการสำรวจความนิยมของอาหารไทยในมุมมองของต่างชาติ รวมไปถึงการถูกกล่าวถึงในบทความของสื่อชั้นนำทั่วโลกมากมาย อาหารไทยมักถูกพูดถึงและถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของอาหารที่เป็นที่นิยม ตัวอย่างเช่น ข้าวซอย ผัดไทย แกงพะแนง แกงเขียวหวาน หรือแกงมัสมั่น เป็นต้น พร้อมด้วยเหตุผลด้านการผสมผสานรสชาติต่าง ๆ ทั้งเค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวานอย่างลงตัวจนถูกใจชาวต่างชาติในหลายประเทศที่ได้รับประทาน
ด้วยความได้เปรียบด้านวัตถุดิบอย่างสินค้าเกษตรภายในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลาย จึงทำให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกของสินค้าประเภทอาหารอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วน 11.5% ของการส่งออกอาหารไทยทั้งหมด อยู่ในกลุ่มสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น เครื่องปรุงรส และกลุ่มอาหารพร้อมปรุงของไทย และยังมีแนวโน้มในการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 5.8% ต่อปี
ในปี 2562 จากสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มของนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่มูลค่า 405,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 21.2% ของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว โดยสูงขึ้นจากเดิมในปี 2557 อยู่ที่มูลค่าประมาณ 356,603 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20.9% ของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ซึ่งสวนทางกับสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านที่พักและเพื่อซื้อสินค้ามีแนวโน้มลดลง จึงจะสื่อได้ว่าอาหารไทยมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอาหารให้โตไปข้างหน้า
ธุรกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากเครื่องปรุงรสเป็นส่วนผสมสำคัญในการปรุงอาหารอีกทอดหนึ่ง จึงทำให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากการชูวัตถุดิบของไทยเพื่อการส่งออกหรือจำหน่ายให้กับธุรกิจอาหาร เช่น น้ำพริก เครื่องแกง หรือเครื่องต้มยำ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบโจทย์ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพหรือเครื่องปรุงรสออร์แกนิก ให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสุขภาพและเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องปรุงรสที่ไม่ผสมผงชูรส เครื่องปรุงรสเติมวิตามิน และเครื่องปรุงรสลดโซเดียม เป็นต้น
ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยต้องการความสะดวกรวดเร็วในการรับประทานอาหาร จึงทำให้เป็นโอกาสที่ดีของโรงงานผลิตอาหารที่ผลิตสินค้าอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานของไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ ผัดไทยพร้อมทาน หรือผัดกะเพราพร้อมทาน เป็นต้น
แน่นอนว่าร้านอาหารไทยย่อมได้รับความสนใจเมื่ออาหารไทยถูกผลักดันเป็น Soft Power โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมไป หรือการที่ร้านอาหารนั้นได้รับความสนใจในกระแสโซเชียลจากคนดังที่มีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น ร้านลูกชิ้นยืนกินจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ ลิซ่า วง Blackpink ชื่นชอบจนทำให้ยอดขายลูกชิ้นยืนกินมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาทเลยทีเดียว
เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างแดน เมื่ออาหารไทยกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกย่อมส่งผลให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นและทำให้ยอดขายเติบโตไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารไทยที่มีเมนูอาหารแบบดั้งเดิมหรือมีเมนูที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม อย่างต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงมัสมั่น เป็นต้น
ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Foods Tourism / Gastronomy Tourism) ต่างก็ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการเติบโตของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารหรือการทำอาหารไทยเพื่อเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยวในต่างประเทศได้อย่างลึกซึ้งและแท้จริงสำหรับท้องถิ่นนั้น ๆ
ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติที่มีการรวบรวมและสำรวจเมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ จึงทำให้ทั้ง 10 เมนูนี้เป็น 10 อันดับที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ซึ่งอาจเป็นแนวทางและไอเดียสำคัญเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและโรงงานผลิตอาหาร เลือกใช้เมนูเหล่านี้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของธุรกิจ โดย 10 เมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยม มีดังนี้ 1. ต้มยำกุ้ง 2. แกงเขียวหวาน 3. ผัดไทย 4. ผัดกะเพรา 5. แกงเผ็ดเป็ดย่าง 6. ต้มข่าไก่ 7. ยำเนื้อ 8. หมูสะเต๊ะ 9. ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 10. แกงพะแนง
ข้อมูลอ้างอิง: Thailand Plus, สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม
เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องวัตถุดิบ รสชาติ และการเพิ่มเมนูอาหารไทย หรือต่อยอดสูตรอาหารที่มีการผสมผสานวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อนำเสนอความเป็นไทย สร้างจุดขายให้กับสินค้าอาหาร รวมไปถึงพัฒนาสินค้าให้สอดรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต (Future Food) หรือเทรนด์อาหาร Plant Base เป็นต้น
ดังนั้นการมีซัพพลายเออร์ วัตถุดิบอาหาร ที่พร้อมจะซัพพอร์ตวัตถุดิบเพื่อการผลิตอาหารได้อย่างต่อเนื่องและมีความหลากหลาย ช่วยทำให้โรงงานผลิตอาหารสามารถดำเนินกระบวนการผลิตอาหารได้อย่างราบรื่นและไม่มีสะดุดเมื่อเกิดวัตถุดิบหมดสต๊อกหรือเกิดปัญหาวัตถุดิบขาดตลาด
Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร เราคือซัพพลายเออร์วัตถุดิบผักและผลไม้แช่แข็งที่พร้อมช่วย สนับสนุนด้านวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยบริการ Veggie Industry ที่เรารวมวัตถุดิบผักแช่แข็ง-ผลไม้แช่แข็งกว่า 100 ชนิด เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานให้เกิดระบบซัพพลายด้านวัตถุดิบแบบองค์รวม
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
Call: 02-328-6638
Line Official: @cogistics
Facebook: Cogistics Co., Ltd.
Email: salesorder@cogistics.co.th
แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร