April 18, 2025
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

สิ่งที่ต้องรู้! ก่อนเปิดโรงงานผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน GMP

สิ่งที่ต้องรู้! ก่อนเปิดโรงงานผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน GMP

สิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนที่จะเริ่มประกอบกิจการในอุตสาหกรรมอาหาร และโรงงานผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าอาหารพร้อมทาน อาหารแปรรูป หรืออาหารเพื่อสุขภาพ ฯลฯ

หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือการเข้าใจถึงกฎระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ GMP (Good Manufacturing Practice) หรือมาตรฐาน GMP ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและนำมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย

ซึ่งการเปิดโรงงานอาหารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างโรงงานและซื้อเครื่องจักรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเตรียมเอกสารและดำเนินการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการขออนุญาตผลิตอาหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการขอเลขอย. หรือเครื่องหมายอย. ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ของกิจการคุณนั่นเอง

 

ข้อกำหนดพื้นฐานที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อได้มาตรฐาน GMP

การจะเปิดโรงงานผลิตอาหารให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและผ่านการรับรองจากหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ คือ การปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานของมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)

โดย GMP เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นถึงความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนออกแบบสถานที่ผลิตอาหาร การควบคุมกระบวนการผลิต การจัดการสุขอนามัยของบุคลากร หรือการเก็บรักษาสินค้า ไปจนถึงการขนส่งสินค้าอาหารจนถึงมือผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตออกมานั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยมี 2 ขั้นตอนสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารต้องปฏิบัติได้แก่ การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และการขออนุญาตผลิตอาหาร

 

การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร

การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร

หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการก่อนเริ่มเปิดโรงงานอาหาร คือการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารเพื่อให้ได้เลขสถานที่ผลิตอาหารอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาการออกแบบสถานที่ผลิตอาหารให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  • สถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ อ.1)

สถานที่ผลิตอาหารที่มีการใช้เครื่องจักรกำลังแรงม้า หรือกำลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมไม่ถึง 50 แรงม้า และใช้คนงานรวมไม่ถึง 50 คน โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม

  • สถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1)

โรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ที่มีการใช้เครื่องจักรมีกําลังแรงม้าและกําลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม

โดยผู้ดำเนินกิจการหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองของนิติบุคคลต้องเป็นผู้ยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานด้วยตนเองโดยการยื่นคำขอที่ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ : OSSC (One Stop Service Center) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำหรับสถานที่ผลิตที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และในกรณีที่สถานที่ผลิตอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ จังหวัดที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่

ซึ่งมีรายละเอียดในการขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร ดังนี้ :

  • การยื่นขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารและจัดเก็บอาหาร
  • การยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
  • การรับใบอนุญาตการผลิตอาหาร
  • การยื่นขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร (เลขสารบบอาหาร) หรือเลข 13 หลักในกรอบเครื่องหมายอย.

 

การขออนุญาตผลิตอาหาร

การขออนุญาตผลิตอาหาร

หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการก่อนจะเริ่มผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในตลาดได้ คือการขออนุญาตผลิตอาหารที่มีการระบุเลขประจำสถานที่ผลิตอาหาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงการเป็นสถานที่ผลิตอาหารที่ได้รับอนุญาตการผลิตตามกฏหมาย ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้า และเป็นขั้นตอนจำเป็นในการขอเลขอย. และเครื่องหมายอย.บนฉลากผลิตภัณฑ์

การขออนุญาตรับเลขสารบบอาหาร (เลขอย.)

หลังจากได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารแล้วผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการยื่นขออนุญาตรับเลขสารบบอาหารของผลอตภัณฑ์หรือเลขอย. ก่อนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด

โดยมีการแบ่งประเภทอาหารออกเป็น 4 กลุ่มตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ได้แก่

  • อาหารกลุ่มที่ 1 : อาหารควบคุมเฉพาะ
    อาหารที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวดหรือสำหรับผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง
    ตัวอย่างสินค้า เช่น นมดัดแปลงสำหรับทารก ผลิตภัณฑ์ของนม หรืออาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท เป็นต้น
  • อาหารกลุ่มที่ 2 : อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
    ตัวอย่างสินค้า เช่น กาแฟ ชา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เป็นต้น
  • อาหารกลุ่มที่ 3 : อาหารที่ต้องมีฉลาก
    ตัวอย่างสินค้า เช่น ขนมปัง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ หรืออาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
  • อาหารกลุ่มที่ 4 : อาหารทั่วไป
    ตัวอย่างสินค้า เช่น เนื้อสัตว์สด พืชผักสด หรือแป้ง เป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารในประเภทอาหาร 3 กลุ่มแรกจะต้องมีการยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ก่อนเริ่มการผลิตเพื่อจัดจำหน่าย ส่วนผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารทั่วไปในกลุ่มที่ 4 สามารถดำเนินการผลิตได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ก่อนการผลิตหรือนำเข้า แต่หากประสงค์ขอรับเลขสารบบอาหารแล้วจะต้องแสดงฉลากให้ถูกต้อง

ข้อมูลอ้างอิง : - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM). “การขออนุญาตผลิตอาหาร” ต้องมีขั้นตอนอย่างไร, จาก https://youtu.be/MLCX_GyYmNk?si=xekFmBgot1v7PuDP
- กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. คู่มือ การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร, จาก https://mis.kpo.go.th/ita/ita_evidence/20250207094534.pdf
- กองอาหาร (Food Division). ขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร, จาก http://food.fda.moph.go.th/public-guide/category/permission-for-food-production-facility

 

Cogistics บริการจัดหาวัตถุดิบผัก-ผลไม้แช่แข็งเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

การเลือก “วัตถุดิบ” คือหัวใจสำคัญของการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในระดับโรงงานผลิตอาหารที่ต้องควบคุมมาตรฐานทั้งด้านความปลอดภัย ความสม่ำเสมอของรสชาติ และประสิทธิภาพในการผลิต Cogistics จึงเข้ามาตอบโจทย์ในฐานะพันธมิตรด้านวัตถุดิบผักและผลไม้แช่แข็งที่เชื่อถือได้ ผ่าน “Veggie Industry” บริการจัดหาผักและผลไม้แช่แข็งคุณภาพสูงสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะ

  • ให้บริการจัดหาวัตถุดิบผัก-ผลไม้แช่แข็งพร้อมตัดแต่งรูปทรงมากกว่า 100 ชนิด
  • สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ในปริมาณหลักตันขึ้นไปสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
  • วัตถุดิบผ่านการคัดเลือกและแปรรูปภายใต้มาตรฐานสากล GMP, HACCP, HALAL

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร