October 10, 2023
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

วิธีลดต้นทุนการผลิต ด้วย Supply Chain ในอุตสาหกรรมอาหารแบบมือโปร

วิธีลดต้นทุนการผลิต ด้วย Supply Chain ในอุตสาหกรรมอาหารแบบมือโปร

กลยุทธ์การลดต้นทุน นับว่าเป็นหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมเติบโตไปได้ในทุกสถานการณ์อย่างยั่งยืน มีส่วนช่วยทำให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มมากขึ้น และบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ Cogistics จะมาแนะแนวทางการลดต้นทุนในการผลิต โดยนำระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือที่เรียกว่า Supply Chain เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารเป็นไปอย่างราบรื่นและสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนวัตถุดิบ หรือลดต้นทุนการขนส่งในการดำเนินงาน

การบริหารต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารด้วยซัพพลายเชน นอกจากจะทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากรและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว ยังช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานให้มีศักยภาพสูงสุดอีกด้วย ก่อนอื่นมาดูกันว่าแนวทางการบริหารต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้ห่วงโซ่อุปทานเข้ามาช่วยในแต่ละขั้นตอนนั้นมีอะไรบ้างและช่วยได้อย่างไร ตามไปอ่านในบทความนี้กันได้เลย

1. การลดต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบ

การนำซัพพลายเชนมาใช้ในการจัดหาวัตถุดิบหรือทรัพยากรที่จำเป็นในกระบวนการผลิตและการดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีการเปรียบเทียบแหล่งจัดหาวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพจะช่วยลดปัญหาในการผลิตได้ หากองค์กรเน้นการเปรียบเทียบราคาเป็นหลัก แต่ละเลยด้านคุณภาพและความสามารถในการจัดส่งของซัพพลายเออร์ อาจทำให้ต้นทุนด้านวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีทำให้ร้อยละผลผลิตที่ได้สูง (%Yield) เกิดการสูญเสียน้อยกว่า และท้ายที่สุดทำให้กำไรสุทธิสูงกว่าการใช้วัตถุดิบต้นทุนตำ่ก็เป็นได้

อีกทั้งยังมีการวางแผนการจัดซื้อและควบคุมสต๊อกวัตถุดิบในปริมาณที่เหมาะสมต่อการผลิต โดยไม่ให้มากจนเกินไปและไม่ให้เกิดการสูญเสียในกรณีที่วัตถุดิบหมดอายุก่อนนำมาใช้งาน เนื่องจากการสั่งซื้อวัตถุดิบที่มากเกินความจำเป็นจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและจัดเก็บวัตถุดิบก่อนนำเข้ากระบวนการผลิตอาหาร เพราะฉะนั้นระบบห่วงโซ่อุปทานจะช่วยควบคุมต้นทุนวัตถุดิบในกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างเหมาะสมได้นั่นเอง

2. การลดต้นทุนจากกระบวนการผลิตสินค้า

กระบวนการผลิต เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นสินค้า ซึ่งมีต้นทุนที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการผลิตรวมตั้งแต่ ต้นทุนด้านวัตถุดิบ ค่าแรงงาน รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการบริหารการผลิตอื่น เช่น ต้นทุนการออกแบบ ต้นทุนการวางแผนการผลิต ต้นทุนการเตรียมการผลิต ต้นทุนการตรวจสอบ ต้นทุนเกี่ยวกับของเสีย และต้นทุนที่แก้ไขสินค้า เป็นต้น

เมื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน สามารถทำให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมที่แท้จริงของอุตสาหกรรมอาหารได้เนื่องจากจำเป็นต้องมีข้อมูลทุกอย่างในกระบวนการดำเนินงาน จึงก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตที่ดียิ่งขึ้นและทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่หลังจากการรับวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยจำเป็นต้องพิจารณาการออกแบบกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับประเภทสินค้า เทคโนโลยีการผลิต และสภาพพื้นที่การผลิต โดยมีการกำหนดมาตรการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย มาตรฐานการผลิตในขั้นสูง เพื่อลดโอกาสการเกิดต้นทุนแฝงในกระบวนการผลิตเพื่อให้การผลิตเข้าสู่ Zero Watse หรือไม่มีวัตถุดิบและปัจจัยสูญเปล่าในกระบวนการผลิตสินค้าอาหารได้

3. การลดต้นทุนการจัดเก็บ

การจัดเก็บสินค้าหลังจากกระบวนการผลิตสินค้าอาหารเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นการจัดเก็บสินค้าเพื่อรอจำหน่ายหรือรอขนส่งกระจายสินค้า โดยต้นทุนที่เกิดขึ้นในการจัดเก็บ จึงเกี่ยวข้องกับต้นทุนการบริหารคลังสินค้า อาทิเช่น ค่าเช่าคลังสินค้า ค่าจ้างผู้ดูแลคลังสินค้า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงานสำหรับคลังสินค้าห้องเย็น หรือค่าเสื่อมราคาวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น

เพื่อจัดการคลังสินค้าไม่ให้เกิดความสูญเสียจากการจัดเก็บสินค้าที่มากเกินไปเพราะเป็นผลจากการผลิตสินค้าในปริมาณที่มากเกินความต้องการ หรือการวางแผนการผลิตที่คลาดเคลื่อนทำให้จำนวนการจัดเก็บและปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้าไม่สอดคล้องกัน การใช้ระบบ Supply Chain เข้ามาบริหารควบคุมกระบวนการนี้จึงช่วยลดต้นทุนที่เกิดจากจัดเก็บสินค้าที่มากเกินไปได้ อย่างการวางแผนการผลิต และการทบทวน Minimun Stock และ Safety Stock เป็นต้น

4. การลดต้นทุนการกระจายสินค้า

ขั้นตอนที่ช่วยกระจายสินค้าจากคลังสินค้าส่งต่อไปยังจุดจำหน่ายสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังมือผู้บริโภครายสุดท้าย ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการกระจายสินค้าจึงประกอบไปด้วยต้นทุนการบริหารการขาย ต้นทุนด้านลูกค้าสัมพันธ์ ต้นทุนการส่งเสริมการขาย และต้นทุนการรับประกันสินค้า เป็นต้น
โดยซัพพลายเชนจะช่วยวางแผนการกระจายสินค้าให้เป็นระบบ เพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการกระจายสินค้า และเลือกวิธีการขนส่งเพื่อจัดส่งสินค้าให้ถึงปลายทางได้อย่างสำเร็จลุล่วง โดยคำนึงถึงระยะทาง ระยะเวลา ค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม และมีระบบบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีและมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เกิดต้นทุนเพิ่มจากการกระจายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดี

5. การลดต้นทุนการขนส่ง

การขนส่งที่ดีจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งได้ ต้นทุนในขั้นตอนการขนส่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคา เช่น ปริมาณหรือน้ำหนักของสินค้าที่บรรทุก ระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่ง โดยต้นทุนที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ต้นทุนเกี่ยวกับการขนส่ง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับระยะทาง และต้นทุนที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายในกระบวนการขนส่งสินค้า

ซึ่งการขนส่งสินค้าจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการรักษาคุณภาพสินค้าให้สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเพราะขาดการวางแผนกระบวนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งห่วงโซ่อุปทานจะช่วยลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง โดยมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อปรับผังกระบวนการทำงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง ความสมดุลของกระบวนการ และการเคลื่อนไหวเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและความสิ้นเปลืองในระบบขนส่งที่ส่งผลให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้นั่นเอง

นอกจากการบริการต้นทุนที่ดีแล้ว การบริหาร ห่วงโซ่คุณค่า Value Chain ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ควรนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้แก่อุตสาหกรรมอาหาร และสามารถทำให้ดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

 

Co-Gistics บริหารจัดการวัตถุดิบด้วยระบบ Supply Chain

Co-Gistics บริหารจัดการวัตถุดิบด้วยระบบ Supply Chain

Cogistics ผู้นำระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) มาเป็นแนวคิดในการบริหารจัดการกระบวนการจัดหาวัตถุดิบประเภทผัก-ผลไม้แช่แข็งในภาคอุตสาหกรรมอาหารจากบริการ Veggie Industry เพื่อช่วยบริหารต้นทุนในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหาร และช่วยให้คุณสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้อย่างคงที่ตลอดทั้งปี

ผนวกด้วยอีกหนึ่งบริการที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้าอาหารของคุณสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายโมเดิร์นเทรด ด้วยบริการลำเลียงและขนส่งสินค้าอาหารแบบควบคุมอุณหภูมิ Food Pipeline
เพื่อช่วยลดความเสียหายในการกระจายสินค้าอาหารที่ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการลำเลียง ทำให้กระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมอาหารสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบยั่งยืน

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร