August 18, 2021
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

เพิ่มช่องทางการสร้างกำไร ด้วยการสร้าง Value Chain

value-chain

หลาย ๆ ผู้ประกอบการอาจจะเคยได้ยินคำว่า Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า กันมาบ้าง แต่ยังไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำมาพัฒนาธุรกิจ เพราะนอกจากการจัดการที่ดีแล้ว การบริหาร Value Chain ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ควรนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ และสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย วันนี้เราจึงมีคอนเทนต์ดี ๆ เกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่านี้มาให้ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจจะเริ่มทำธุรกิจได้เรียนรู้กัน

Value Chain คืออะไร

value chain?

Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า คือ ภาพรวมของกระบวนการในองค์กรที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยที่แต่ละขั้นตอนนั้นสามารถสร้างคุณค่า (Value) ให้กับองค์กรและสินค้าอย่างไม่มีปัญหา ซึ่งห่วงโซ่คุณค่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์คู่แข่งของธุรกิจได้ด้วย โดยการเปรียบเทียบแต่ละขั้นตอนของคู่แข่ง ว่าคู่แข่งสามารถทำได้ดีกว่า หรือมีขั้นตอนอะไรที่น่าสนใจและสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรของเราได้บ้าง

การวิเคราะห์เพื่อหา Value Chain ในองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้เป็นอย่างมาก และไม่จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุน อีกทั้งการวิเคราะห์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนในขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มคุณค่าแต่ใช้จ่ายน้อยลงได้อีกด้วย เปรียบเหมือนกับเราได้ตัดส่วนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มขั้นตอนหรือกระบวนการที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้

ขั้นตอนการวิเคราะห์หา Value Chain

ขั้นตอนการวิเคราะห์หา Value Chain

การวิเคราะห์หา Value Chain นั้นสามารถ แยกแต่ละขั้นตอนออกมาเพื่อค้นหาส่วนที่บกพร่องและส่วนที่กำลังรอการพัฒนาอยู่ได้ โดยเราสามารถนำขั้นตอนเหล่านี้เปรียบเทียบกับการจัดการขององค์กรในปัจจุบัน และแผนในอนาคต รวมไปถึงการเปรียบเทียบกับคู่แข่งอื่น ๆ ในตลาดได้อีกด้วย  โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนเหล่านี้

Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่านั้นสามารถแยกเป็นกิจกรรมได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • Primary Activities หรือ กิจกรรมหลัก

  • Inbound Logistics: การนำเข้า
  • Operations: การดำเนินการหรือผลิต
  • Outbond Logistics: การส่งออก
  • Marketing and Sales: การตลาดและการขาย
  • Services: การบริการ
  • Support Activities หรือ กิจกรรมสนับสนุนองค์กร

  • Procurement: การจัดหา และการจัดซื้อวัตถุดิบ
  • Technology Development: การพัฒนาเทคโนโลยีและวิจัยสินค้า
  • Human Resource Management: การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • Firm Infrastructure: การพัฒนาอื่น ๆ เช่น การเงินและบัญชี

และนอกจากการวิเคราะห์กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว องค์กรและผู้ประกอบการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าในตลาดที่เราตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่า ลูกค้าต้องการสินค้าที่มีคุณค่าประเภทใด สินค้าแบบไหนถึงจะมีคุณค่าในมุมมองของลูกค้า เพื่อผลประโยชน์ที่ลูกค้าและองค์กรสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ลูกค้าต้องการสินค้าราคาถูก และมีคุณภาพปานกลาง เป็นต้น

บริษัทโคจิสติกส์เป็นผู้นำระบบจัดการทางซัพพลายเชนมาแก้ปัญหาการจัดหาวัตถุดิบประเภท ผักแช่แข็ง และ ผลไม้แช่แข็ง พร้อมใช้ และ ระบบ ขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ รถห้องเย็น ให้กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมากว่าสิบปี เป็นเบื้องหลังของความสำเร็จให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารชั้นนำของประเทศมากว่าทศวรรษ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.cogistics.co.th