March 29, 2024
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

Veggie Industry ซัพพลายเออร์ผัก ผลไม้แช่แข็ง เพื่อผู้ผลิตอาหารฮาลาล (Halal)

Veggie Industry ซัพพลายเออร์ผัก ผลไม้แช่แข็ง เพื่อผู้ผลิตอาหารฮาลาล (Halal)

ปัจจุบันชาวมุสลิมทั่วโลกมีจำนวนประชากรมากกว่า 2,000 ล้านคน หรือหากเทียบเป็นอัตราส่วนแล้วจะเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลก ในขณะที่ประเทศไทยเองมีประชากรชาวมุสลิมอยู่ประมาณ 4 ล้านคน และคาดการณ์ว่าประชากรมุสลิมทั่วโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจึงส่งผลต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอย่างสินค้าหรือบริการของชาวมุสลิมที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

จากสถิติที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มสินค้าที่ชาวมุสลิมมีอัตราการบริโภคมากที่สุด คือ สินค้าประเภทอาหารฮาลาล จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารหลักของโลก จึงไม่ควรพลาดโอกาสที่จะขยายตลาดสู่สินค้าอาหารฮาลาล และการส่งออกสินค้าฮาลาลไปทั่วโลก

ทั้งนี้การผลิตสินค้าฮาลาลจำเป็นจะต้องมีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่เน้นเรื่องความสะอาด ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และถูกต้องตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม เพราะฉะนั้นแล้ว “เครื่องหมายฮาลาล” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคชาวมุสลิมว่าสามารถบริโภคสินค้าอาหารได้อย่างมั่นใจตามหลักศาสนาได้นั่นเอง

ทำความรู้จัก “เครื่องหมายฮาลาล” คืออะไร?

ทำความรู้จัก “เครื่องหมายฮาลาล” คืออะไร?

ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของ “ฮาลาล (حلال)” กันก่อน ซึ่งคำว่าฮาลาลในภาษาอาหรับหมายความว่า “อนุมัติหรืออนุญาต” หากนำมาใช้ในบริบททางศาสนาแล้วจะหมายถึงสิ่งที่ศาสนาอนุมัติหรืออนุญาตให้ทำ จึงทำให้อาหารฮาลาล หมายถึง อาหารที่ได้รับการอนุญาตให้บริโภคได้ตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามนั่นเอง เนื่องจากชาวมุสลิมเชื่อว่าบัญญัติของพระอัลเลาะห์ว่าด้วยการห้ามให้ทำหรือบริโภคสิ่งใดถือว่าต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเข้มงวด

โดยอาหารที่ห้ามมิให้มีวัตถุดิบหรือส่วนประกอบตามบัญญัติของศาลนาอิสลามจะเรียกว่า “ฮารอม” โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ได้แก่ สุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งมึนเมา หรือเนื้อจากสัตว์ที่เป็นฮารอม เป็นต้น โดยจะต้องผ่านกระบวนการที่สอดคล้องกับหลักศาสนาตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบตลอดจนการขนส่งสินค้าอาหารเพื่อไม่ให้อาหารฮาลาลปนเปื้อนหรือสัมผัสกับสิ่งที่เป็นฮารอมอย่างเด็ดขาดนั่นเอง

“เครื่องหมายฮาลาล (Halal)” จึงเป็นมาตรฐานหรือสัญลักษณ์ที่ติดบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสินค้าฮาลาลผ่านการรับรองความสะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามหลักศาสนาทางอิสลาม โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกใบรับรอง คือ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) ที่มีการตรวจสอบและควบคุมอย่างเข้มงวดตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปเครื่องหมายฮาลาลจะปรากฏบนผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่หน่วยงานรับผิดชอบนั่นเอง

ทำไมต้องมีเครื่องหมายฮาลาล (Halal) ?

เครื่องหมายฮาลาลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสินค้าหรือบริการที่ชาวมุสลิมทั่วโลกเลือกซื้อสินค้าและบริโภคได้อย่างสบายใจว่าสินค้านั้นถูกต้องตามหลักการของศาสนาไม่มีส่วนผสมที่เป็นฮารอม ซึ่งในตลาดอาเซียนเครื่องหมายฮาลาลที่รับรองโดยสนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่มีอำนาจรับรองฮาลาลจากหลากหลายประเทศในอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย (MUI) มาเลเซีย (JAKIM) หรือบรูไน (BKMH) จึงทำให้การส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยังประเทศเหล่านี้ทำได้โดยไม่ต้องขอใบรับรองฮาลาลจากประเทศผู้นำเข้า ช่วยอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนให้กับผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงตัวผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมของผู้บริโภคและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงเข้าใจข้อกำหนดและกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานอาหารฮาลาลของแต่ละประเทศ อย่างรอบคอบและถี่ถ้วนอีกด้วย

แนวโน้มตลาดอาหารฮาลาลในไทยและสินค้าส่งออก

โอกาสการเติบโตของตลาดอาหารฮาลาล (Halal Food) มีความสำคัญและขยายจากตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) จนกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ (Mass Market) จากผู้บริโภคชาวมุสลิมทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และตรวจสอบแหล่งที่มาได้ทั้งชาวมุสลิมและไม่ใช่ชาวมุสลิมเอง

จากข้อมูลที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าตลาดอุตสาหกรรมฮาลาลในปี 2567 นี้จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 2.325 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโตเฉลี่ยถึง 7.5% ต่อปี ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลของประเทศไทยในปี 2565 มีมูลค่าอยู่ที่ 213,816 ล้านบาท หรือมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเป็นอันดับที่ 11 อยู่ที่ 2.7% ซึ่งถือว่าไทยเองเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาลรายใหญ่เลยก็ว่าได้

โดยตลาดส่งออกอาหารฮาลาลของไทย ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามหรือ OIC ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของปี 2564 คือ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ และเยเมนตามลำดับ และ 5 ประเภทสินค้าอาหารฮาลาลที่ไทยส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ธัญพืช 2. ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา หรือสัตว์น้ำฯ 3. น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล 4. ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป่ง สตาร์ช หรือนม 5. ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้

ไม่เพียงเท่านี้เมื่อดูพฤติกรรมการใช้จ่ายของชาวมุสลิมยังพบว่ามีการใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวอยู่ที่ 8% ของรายจ่ายทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ประเทศไทยที่มีจุดแข็งทั้งด้านการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลและมีจุดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวที่เปิดรับวัฒนธรรม ศาสนา เชื้อชาติอันหลากหลายมีโอกาสที่จะขยายตลาด หรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจด้วยตลาดฮาลาล

ซึ่งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารจะต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเข้าสู่ตลาดสินค้าฮาลาลโดยการใส่ใจเรื่องการติดตราสินค้าฮาลาล หรือได้รับการรับรองเครื่องหมายฮาลาล (Halal) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับหลักทางศาสนาของอิสลาม และเปิดตลาดให้เข้าถึงชาวมุสลิมทั่วโลกนั่นเอง

อ้างอิง: ฐานเศรษฐกิจ, ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2567
https://www.thansettakij.com/business/economy/587088

Ch7HD News, ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566
https://news.ch7.com/detail/625782

มั่นใจยิ่งขึ้นด้วยระบบจัดหาวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานฮาลาล

จะดีกว่าไหมหากวัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่คุณนำมาผลิตสินค้าอาหารฮาลาลสร้างความมั่นใจตั้งแต่ต้นด้วยคุณภาพวัตถุดิบที่ดี สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยและถูกต้องตามหลักบัญญัติของศาสนาอิสลาม โดยเป็นวัตถุดิบที่ผ่านการรับรองเครื่องหมายฮาลาล (Halal) จากสนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอย่างถูกต้องเพื่อการผลิตสินค้าอาหารฮาลาลโดยเฉพาะ

Cogistics ซัพพลายเออร์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุดิบผัก ผลไม้เราขอแนะนำบริการที่จะช่วยให้คุณจัดการเรื่องวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าฮาลาล ได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยบริการ “Veggie Industry” ระบบจัดหาวัตถุดิบผักแช่แข็ง ผลไม้แช่แข็งด้วยแนวคิดระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อภาคอุตสาหรรมอาหารและผู้ผลิตอาหารฮาลาลของไทย

เรายึดมั่นในคุณภาพของวัตถุดิบที่ต้องสะอาดและปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิตตามหลักการมาตรฐานฮาลาลจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารฮาลาล นอกจากนี้เรายังผ่านการรับรองมาตรฐานสากลอย่าง GMP และ HACCP อีกด้วย

ผลิตอาหารฮาลาล ต้องผักแช่แข็ง ผลไม้แช่แข็ง จาก Cogistics

ผลิตอาหารฮาลาล ต้องผักแช่แข็ง ผลไม้แช่แข็ง จาก Cogistics

Veggie Industry บริการจัดหาผัก ผลไม้แช่แข็งจากซัพพลายเออร์มืออาชีพอย่าง Cogistics เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าอาหารสำหรับผู้บริโภคชาวมุสลิม เราให้บริการจัดหาผักแช่แข็ง ผลไม้แช่แข็งด้วยระบบซัพพลายเชนในระดับภาคอุตสาหกรรมอาหาร ในปริมาณหลักตันเป็นต้นไปโดยสามารถส่งมอบวัตถุดิบได้ตลอดทั้งปี แม้ไม่ได้อยู่ในฤดูกาลเพาะปลูก

จัดหาวัตถุดิบผักแช่แข็ง ผลไม้แช่แข็ง ได้มากกว่า 100 ชนิด พร้อมบริการตัดแต่งรูปทรงวัตถุดิบให้พร้อมใช้งานได้ถึง 18 รูปแบบตามที่ต้องการ จากเครือข่ายพันธมิตรแหล่งเพาะปลูกทั่วโลก

สามารถเลือกดูวัตถุดิบทั้ง 100 ชนิดได้ที่บทความ : รวมวัตถุดิบ ผักแช่แข็ง-ผลไม้แช่แข็ง จาก Veggie Industry กว่า 100 ชนิด เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

จัดส่งได้ตามออเดอร์ตลอดทั้งปี 365 วันไม่มีขาดส่ง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องวัตถุดิบขาดตลาดหรือมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิต ด้วยระบบห่วงโซ่อุปทานที่พร้อมส่งมอบวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มั่นใจในเรื่องคุณภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยเพื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภทด้วยมาตรฐานสากลที่รองรับวัตถุดิบของเราทั้งมาตรฐาน GMP มาตรฐาน HACCP และมาตรฐาน Halal

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร