February 21, 2024
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

เผย 5 ปัญหา Supply Chain ในอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมวิธีจัดการซัพพลายเชนอย่างมืออาชีพ

เผย 5 ปัญหา Supply Chain ในอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมวิธีจัดการซัพพลายเชนอย่างมืออาชีพ

ในยุคสมัยที่การแข่งขันในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอาหารเพิ่มมากขึ้น การจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจ เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังสามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่นและรวดเร็ว

โดยห่วงโซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชนเป็นเรื่องไม่ควรถูกมองข้าม ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น โดยครอบคลุมขั้นตอนในกระบวนการ Supply Chain ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การจัดเก็บ จนถึงการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจในหลายแง่มุม รวมไปถึงในยุคที่มีการแข่งขันสูงอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามการประสานงานร่วมกันหลายฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานย่อมเกิดปัญหาหลายประการที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้เกิดขึ้นได้ โดยปัญหาส่วนใหญ่ขององค์กรที่มักพบเจอเรา Cogistics ขอรวบรวมมาไว้ให้กับ “5 ปัญหาหลักของการจัดการห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร” ในบทความนี้กัน

 

5 ปัญหาของ Food Supply Chain ที่องค์กรมักพบเจอ

ปัญหาที่มักพบเจอในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร (Food Supply Chain Management) มีดังนี้

 

1. ขาดการตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทาน

การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) คือกระบวนการติดตามข้อมูลสินค้า ทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การแปรรูป การขนส่ง การจัดเก็บ จนถึงการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค ทำให้ง่ายต่อการเรียกตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับและติดตามแหล่งที่มาของสินค้าได้เร็วยิ่งขึ้น

เมื่อห่วงโซ่ขาดความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใส อาจเป็นจุดบอดในซัพพลายเชนของธุรกิจอาหารได้ โดยทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อตัวผลิตภัณฑ์ลดน้อยลง ซึ่งส่งผลถึงยอดขายและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งยังไม่สามารถติดตามความรับผิดชอบ ในกรณีที่สินค้าเกิดมีปัญหาอีกด้วย

โดยสาเหตุของปัญหานี้มักเกิดจากการที่องค์กรใช้ระบบที่ล้าสมัยหรือใช้การติดตามในรูปแบบเอกสารจึงมีความยุ่งยาก และเกิดความล่าช้าในการแบ่งปันข้อมูล รวมไปถึงสามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

วิธีแก้ไข: พัฒนาระบบการติดตามข้อมูล และสร้างความร่วมมือระหว่างซัพพลายเชน เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลผ่านเครือข่ายในห่วงโซ่การผลิตในรูปแบบดิจิทัล อาทิ Blockchain, RFID, IoT หรือ QR Code ที่สามารถทำการตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างโปร่งใส และสามารถรับรู้แหล่งที่มาได้ในทุกขั้นตอน

 

2. ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้าได้

คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร ถือเป็น​ความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทาน โดยสินค้าจะต้องได้มาตรฐาน ไม่ปนเปื้อนสารเคมี หรือปราศจากอันตรายต่อผู้บริโภค

สาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของสินค้า มักได้แก่ สินค้าเกิดปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิต สินค้าเสียหายหรือสูญหายระหว่างการขนส่ง หรือการจัดเก็บและคลังสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้หลาย ๆ ครั้งสินค้าเหล่านี้เกิดการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (Product recall) ต้องทำลายทิ้ง หรือนำไปผลิตใหม่จนเกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

วิธีแก้ไข: เริ่มตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่ต้องมีคุณภาพ ปลอดภัย ตรวจสอบได้ เพื่อใช้ในการผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ตลอดจนการตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตและการขนส่งทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทาน โดยผ่านการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เช่น GMP, HACCP หรือ ISO เป็นต้น

 

3. ปัญหาการทำงานร่วมกันและการสื่อสารที่ไม่เพียงพอในซัพพลายเชน

การทำงานร่วมกันในซัพพลายเชน แน่นอนว่าจะต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจ หรือซัพพลายเออร์หลายฝ่าย รวมไปถึงแผนกต่าง ๆ ขององค์กรเองอีกด้วย ดังนั้นการมองเห็นข้อมูลแบบภาพรวม หรือเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกัน จะทำให้การทำงานระหว่างห่วงโซ่อุปทานสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น เมื่อมีเป้าหมายและทิศทางสอดคล้องหรือส่งเสริมกัน

ซึ่งการแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำตลอดจนถึงปลายน้ำ หากได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน หรือสื่อสารไม่ชัดเจน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด การทำงานล่าช้า หรือเกิดปัญหาซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงานขึ้นได้

วิธีแก้ไข: การลงทุนและพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูล ให้สามารถมองเห็นภาพรวม และสื่อสารได้อย่างสะดวกแบบเรียลไทม์ หรือ Supply Chain Visibility ทำให้เพิ่มความคล่องตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหา รวมถึงสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและคู่ค้าทางธุรกิจอีกด้วย

 

4. ความผันผวนของดีมานด์-ซัพพลาย และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

Demand หรือความต้องการซื้อของผู้บริโภคเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เทรนด์การบริโภค ราคาสินค้า หรือความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น จึงทำให้เกิดความผันผวนและยากที่จะควบคุมให้สมดุลกับ Supply หรือความต้องการขายที่ไม่แน่นอน ซึ่งเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมอาหารจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงที่เกิดขึ้น

รวมไปถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ต้นทุนพลังงานและเชื้อเพลิงในการผลิต โลจิสติกส์และค่าขนส่ง ทรัพยากรคน หรือการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ จนกระทบให้ธุรกิจต้องปรับตัวให้อยู่รอด โดยปรับราคาสินค้าขึ้นจนกระทบต่อผู้บริโภคที่ต้องจ่ายเงินมากขึ้น หรือธุรกิจต้องเผชิญกับกำไรที่ลดลงนั่นเอง

วิธีแก้ไข: การวิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์ และวางแผนจัดการโดยการบูรณาการเครือข่ายพันธมิตรให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแบ่งปันข้อมูลในการวิเคราะห์และวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อการบริหารงานร่วมกันจะช่วยประหยัดเวลา ลดข้อผิดพลาด และสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานร่วมด้วย

 

5. ความล้มเหลวในการติดตามและควบคุมสินค้าในคลังสินค้า

การดูแลติดตามและควบคุมสินค้าในคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทำงานได้อย่างราบรื่น แต่หลาย ๆ องค์กรมักขาดการจัดการคลังสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือใช้เทคโนโลยีแบบเก่าจนเกิดการทำงานที่ไม่สอดคล้องกัน จนส่งผลกระทบต่อคลังสินค้า อาทิ สินค้าสูญหายหรือมีปริมาณสินค้าคงคลังที่มากเกินไป

วิธีแก้ไข: การเลือกใช้โซลูชันการจัดการสินค้าคงคลังที่ทันสมัย เช่น ระบบ RFID , IoT หรือ GPS Tracking จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถตรวจสอบและรับรู้ทุกขั้นตอน (Visible Process) ด้วยการเชื่อมต่อกับระบบจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์นั่นเอง

 

ก้าวสู่ความสำเร็จไปกับ Cogistics ผ่านการจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน

ก้าวสู่ความสำเร็จไปกับ Cogistics ผ่านการจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน

Cogistics พันธมิตรซัพพลายเชนด้านวัตถุดิบผักผลไม้แช่แข็งและการกระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เราให้ความสำคัญกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนที่พร้อมช่วยให้ธุรกิจอาหารของคุณสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและลดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน

ผ่าน 2 บริการของเราที่จะผ่านธุรกิจของคุณให้ก้าวไปข้างหน้า

  • Veggie Industry บริการจัดหาผัก-ผลไม้แช่แข็งเพื่อภาคอุตสาหกรรมอาหาร
  • Food Pipeline บริการกระจายสินค้าอาหารแบบควบคุมอุณหภูมิสู่ร้านค้าโมเดิร์นเทรด

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร