January 17, 2025
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 2025 ที่น่าจับตามอง สร้างโอกาสทองให้ผู้ประกอบการ

เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 2025 ที่น่าจับตามอง สร้างโอกาสทองให้ผู้ประกอบการ

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยมีมูลค่าตลาดรวมราวกว่า 6 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศและเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกันในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่เกษตรกรผู้ผลิตพืชผลทางการเกษตรและเนื้อสัตว์ ผู้ผลิตและนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสัตว์ ผู้จำหน่ายในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ตลอดจนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านเบเกอรี่ ของหวาน และไอศครีมอีกด้วย

ในปี 2025 นี้ความสำคัญของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มมากขึ้น ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผันผวน ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนให้ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

หากคุณคือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ที่กำลังมองหาแนวทางใหม่ในการสร้างความแตกต่างหรือกำลังมองหาโอกาสในการลงทุนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ตลาด การเข้าใจถึงแนวโน้มและเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มในปีนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด เพื่อให้คุณเข้าใจถึงการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต พร้อมทั้งเสนอไอเดียหรือลู่ทางใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงเพื่อเสริมสร้างธุรกิจของคุณให้เติบโตต่อไป เรา Cogistics จะพาคุณไปเปิดโลกธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในปี 2025 นี้ไปพร้อมกัน !

 

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม

 

สำหรับปี 2025 หรือ พ.ศ. 2568 นี้ ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดรวมจะเติบโตขึ้น 4.6% หรืออยู่ที่ 657,000 ล้านบาทจากปีพ.ศ. 2567 โดยสามารถแบ่งย่อยออกเป็น

  • ธุรกิจร้านอาหาร : คาดการณ์มูลค่าตลาดเติบโต 4.8% หรือ 572,000 ล้านบาทจากปีก่อน
  • ธุรกิจร้านเครื่องดื่ม ร้านเบเกอรี่และไอศครีม : คาดการณ์มูลค่าตลาดเติบโต 3.2% หรือ 85,320 ล้านบาทจากปีก่อน

โดยเป็นผลมาจากภาคการท่องเที่ยวของคนไทยและชาวต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ความนิยมของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งมีร้านอาหารในมิชลินไกด์กว่า 482 ร้าน และพบว่ามีค่าใช้จ่ายสำหรับร้านอาหารและเครื่องดื่มของนักท่องเที่ยวมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 ในการใช้จ่ายท่องเที่ยวทั้งหมด

 

แนวโน้มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มแต่ละประเภท

แนวโน้มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มแต่ละประเภท

 

ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มแต่ละประเภทต่างมีปัจจัยเฉพาะที่แตกต่างกันซึ่งมีผลต่อการเติบโตของมูลค่าตลาดโดยรวม เช่น เทรนด์อาหารของผู้บริโภค ราคา รสชาติ เมนูและเครื่องดื่มใหม่ ๆ ทำเลที่ตั้งของร้าน หรือความหนาแน่นของร้านอาหารในประเภทเดียวกันและต่างกันในแต่ละพื้นที่

ในปี 2025 มีประเภทของธุรกิจร้านอาหารที่มีแนวโน้มเติบโต ได้แก่

  • ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurants)

คาดการณ์เติบโต 2.9% หรือมูลค่าตลาดอยู่ที่ 213,000 ล้านบาท สำหรับธุรกิจร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ยังคงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาความคุ้มค่าและราคา ส่วนร้านอาหารประเภทอะลาคาร์ท (A La Carte) เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารเกาหลี หรือร้านอาหารไทย กลับต้องเผชิญกับความท้าทายที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเนื่องจากมีร้านเปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก

  • ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service Restaurants)

คาดการณ์เติบโต 3.8% หรือมูลค่าตลาดอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการขยายสาขาของธุรกิจร้านอาหารกลุ่มพิซซ่าและไก่ทอด รวมถึงผู้ประกอบการที่ให้บริการในรูปแบบ Full Service มาเป็นแบบ Quick Service เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้นและลดต้นทุนธุรกิจ

  • ร้านอาหารข้างทางที่มีหน้าร้าน (Street Food)

คาดการณ์เติบโต 6.8% หรือมูลค่าตลาดอยู่ที่ 266,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นเมนูอาหารทั่วไปที่เข้าถึงได้ง่ายและมีราคาถูก ตลอดจนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จนทำให้เกิดการขยายตัวในธุรกิจร้านอาหารกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี

ส่วนธุรกิจร้านเครื่องดื่ม ร้านเบเกอรี่ และร้านไอศครีมต่างก็มีแนวโน้มเติบโตเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเปิดตัวธุรกิจใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น การขยายสาขาของผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย การขยายแฟรนไชส์ร้านเครื่องดื่มจากต่างประเทศที่เข้ามาเปิดในประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากเมนูเครื่องดื่มและเบเกอรี่ใหม่ ๆ จากต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้นความต้องการบริโภคและความต้องการซื้อจากลูกค้าอีกด้วย

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในหลายด้าน ดังนั้นผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรเตรียมตัวรับมือและวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังดังนี้

  • ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค

ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนหรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อาจส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายในอาหารนอกบ้านหรือสินค้าเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็น หรือกำลังซื้อของผู้บริโภคในปี 2025 ยังคงฟื้นได้ไม่เต็มที่ จึงเกิดความเสี่ยงต่อการเติบโตของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้

  • การเพิ่มขึ้นของต้นทุนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม

ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น “ต้นทุนค่าแรง” ที่ปรับสูงขึ้นจากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2568 จากภาครัฐ หรือ “ต้นทุนวัตถุดิบ” ที่ปรับขึ้นจากสภาวะอากาศที่ผิดปกติจนทำให้เกิดปัญหาวัตถุดิบขาดตลาดจนผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องขึ้นราคาวัตถุดิบตามกลไกลตลาด

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค

ผู้บริโภคมีแนวโน้มเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรวดเร็วโดยมีบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องความแปลกใหม่ ประสบการณ์ สุขภาพ และราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งมีความต้องการที่หลากหลายและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จนทำให้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวในการบริโภค ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสอย่างต่อเนื่อง และความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดลงอย่างเห็ดได้ชัด

 

10 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่น่าจับตามองปี 2025

10 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่น่าจับตามองปี 2025
Whole Foods Market (WFM) หนึ่งในธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกาได้คาดการณ์ “10 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม ปี 2025” ที่ได้รับความนิยมโดยอาศัยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอาหาร การทำงานร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ รวมถึงสังเกตความต้องการของผู้บริโภค ร่วมกันวิเคราะห์แนวโน้มกับทีมงานคณะกรรมการตั้งแต่ผู้จัดหาวัตถุดิบและผู้ซื้อไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร โดยมี 10 แนวโน้มที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

1. ขนมขบเคี้ยวจากนานาชาติ (International Snacking) : เทรนด์ขนมขบเคี้ยวยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2025 โดยผู้บริโภคต่างมองหาประสบการณ์การทานที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น อย่างขนมขบเคี้ยวที่ได้แรงบันดาลใจจากรสชาติท้องถิ่นของแต่ละประเทศ เช่น ขนม Chamoy สไตล์เม็กซิกัน หรือถั่วผสมถั่วแระญี่ปุ่นคลุกพริกทอด เป็นต้น

2. เกี๊ยวหลากหลายสูตร (Ever-Adaptable Dumpling) : เกี๊ยวกลายเป็นอาหารที่ถูกนำมาปรับสูตรและตีความใหม่ในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เกี๊ยวสไตล์เอเชียแบบดั้งเดิม ไปจนถึงเกี๊ยวฟิวชันที่ผสานรสชาติและวัตถุดิบจากทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถปรุงได้ทั้งแบบต้ม นึ่งหรือทอด จนได้รับความนิยมในครัวธุรกิจร้านอาหารหลากหลายชาตินั่นเอง

3. เนื้อสัมผัสกรอบที่กำลังมาแรง (Crunch: Texture of the Moment) : ความกรอบกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในวงการอาหาร ด้วยเนื้อสัมผัสที่กรอบเคี้ยวเพลินช่วยเพิ่มมิติให้กับเมนูอาหาร ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยว อาหารจานหลัก หรือของหวาน

4. เครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่น (Hydration Hype) : ความต้องการเครื่องดื่มที่ช่วยเติมความสดชื่นและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นซึ่งเข้ามาตอบโจทย์สำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพ เช่น น้ำแร่ผสมวิตามิน หรือเครื่องดื่มผสมคอลลาเจน เป็นต้น

5. ยุคแห่งชา (Tea’s Time) : ชายังคงครองใจผู้บริโภคในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังมีการนำชามาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสมในขนมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย

6. บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ (Next-Level Compostable) : ความยั่งยืนยังเป็นคงประเด็นสำคัญในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ เช่น บรรจุภัณฑ์จากเยื่อไผ่หรือชานอ้อยที่กำลังกลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่ผู้บริโภคต้องการ

7. เครื่องดื่มที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น (More-Sustainable Sips) : เครื่องดื่มที่เน้นความยั่งยืนกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจในด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้หลายแบรนด์ต่างพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนยิ่งขึ้น เช่น เมล็ดกาแฟย่อยสลายได้ หรือไวน์ที่ผลิตด้วยกระบวนการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ เป็นต้น

8. การยกระดับแป้งซาวร์โดว์ (Sourdough Stepped Up) : ซาวร์โดว์ได้กลายมาเป็นขนมปังหมักที่ได้รับความนิยมยิ่งขึ้นหลังจากช่วงโควิด-19 โดยถูกนำมาใช้ในอาหารหลากหลายประเภท เช่น แป้งพิซซ่า แพนเค้ก หรือแครกเกอร์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

9. ส่วนผสมวัตถุดิบจากพืชน้ำ (Plant-Based Aquatic Ingredients) : พืชน้ำกำลังกลายมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สาหร่ายทะเลและสไปรูลิน่า เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ

10. โปรตีนเพิ่มพลัง (Protein Power-Up) : โปรตีนยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ผู้บริโภคมองหา โดยเฉพาะในกลุ่มที่รักสุขภาพหรือออกกำลังกาย วัตถุดิบโปรตีนใหม่ ๆ จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เช่น โปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลง หรือโปรตีนสกัดเข้มข้นในรูปแบบผงและเครื่องดื่มพร้อมดื่ม เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง :
Kasikorn Research. (2567). ธุรกิจร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มปี 68 คาดขยายตัว 4.6% มูลค่าตลาด 657,000 ล้านบาท, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/IAO111-Restaurant-Industry-FB-16-12-2024.aspx
Whole Foods Market. (2567). Whole Foods Market Forecasts the Top 10 Food and Beverage Trends for 2025, จาก https://media.wholefoodsmarket.com/whole-foods-market-forecasts-the-top-10-food-and-beverage-trends-for-2025/

 

Cogistics ผู้ให้บริการซัพพลายเชนด้านวัตถุดิบผักผลไม้และขนส่งควบคุมอุณหภูมิสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

เพื่อให้ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสามารถขายธุรกิจและเติบโตไปได้ในอนาคตอย่างยั่งยืนและมั่งคง การมีพาร์ทเนอร์หรือพันธมิตรทางธุรกิจที่ช่วยดูแลด้านซัพพลายเชน (Supply Chain) ในด้านวัตถุดิบและระบบกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิสู่ร้านค้าปลายทางจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม !

Cogistics เราจึงออกแบบโซลูชันที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการในการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มผ่าน 2 บริการที่เราเชี่ยวชาญ ได้แก่

บริการจัดหาวัตถุดิบผัก-ผลไม้แช่แข็งกว่า 100 ชนิดพร้อมบริการตัดแต่งรูปทรง สำหรับใช้ในธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ในปริมาณหลักตันขึ้นไป พร้อมจัดหาให้คุณได้ตลอดทั้งปีและผ่านรับรองมาตรฐาน GMP / HACCP / HALAL

บริการกระจายสินค้าแบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรดสำหรับธุรกิจที่วางจำหน่ายสินค้าประเภทวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยให้บริการจัดเก็บและกระจายสินค้าด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพ

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร