November 20, 2023
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

นำสินค้าเข้า Modern Trade ได้ง่ายๆ ใน 5 ขั้นตอน สอนแบบจับมือทำ

นำสินค้าเข้า Modern Trade ได้ง่ายๆ ใน 5 ขั้นตอน สอนแบบจับมือทำ

การมองหาช่องทางจัดจำหน่ายเพื่อการขยายธุรกิจให้เติบโตและมียอดขายเพิ่มมากขึ้น โดยการเลือกนำสินค้าฝากขายเข้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายในรูปแบบโมเดิร์นเทรด ซึ่ง Modern Trade คือหนึ่งในหนึ่งช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า (Distributor Channel) ที่จะช่วยให้สินค้าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นของใช้อุปโภคบริโภค หรือสินค้าอาหารแปรรูป อาหารแช่เย็น-อาหารแช่แข็ง มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและฐานลูกค้าใหม่ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

โดยช่องทางโมเดิร์นเทรด มีการแบ่งประเภทออกเป็นดังนี้

  • ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) เช่น 7-Eleven, Family Mart, Lawson 108
  • ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) เช่น Tops Supermarket, Villa Market, Gourmet Market
  • ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Hypermarket) เช่น Makro, Lotus's, Big C
  • ห้างสรรพสินค้า (Department Store) เช่น Central, Siam Paragon, ICONSIAM
  • ร้านค้าขายสินค้าเฉพาะทาง (Specialty Stores) เช่น Watsons, Boots, Eveandboy
  • ตลาดสดและร้านค้าส่ง (Cash & Carry) เช่น Makro

 

นำสินค้าฝากขายเข้า Modern Trade ดีอย่างไร?

การนำสินค้าขายผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด จะช่วยให้ธุรกิจสามารถกระจายสินค้าเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีความหลากหลายและมีระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อดีในการจำหน่ายผ่าน Modern Trade มากมายไม่ว่าจะ..

  • ช่วยเพิ่มยอดขายให้เติบโตเพราะมีคำสั่งซื้อเข้ามาตลอด เนื่องจากมีช่องทางจัดจำหน่ายและผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก
  • ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า เนื่องจาก Modern Trade เป็นตัวชี้วัดถึงความน่าเชื่อถือของสินค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์
  • ช่วยทำให้ธุรกิจมีกำไรอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการค้าปลีกเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป โดยมีการบวกกำไรลงบนต้นทุนของสินค้าทุกรายการ
  • ช่วยทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง เนื่องจากโมเดิร์นเทรดทำการขายสินค้าเป็นเงินสด และซื้อสินค้าเป็นสินเชื่อทำให้ธุรกิจมีเครดิตทางการเงินในช่วง 2-3 เดือนขึ้นไป

เกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าและผู้ประกอบการ

เกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าและผู้ประกอบการ

ด้านสินค้าและบริการ

  • สินค้าต้องมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
  • ฉลากสินค้าต้องระบุรายละเอียดของสินค้าอย่างครบถ้วน
  • บรรจุภัณฑ์และการโฆษณาไม่กล่าวอ้างสรรพคุณที่เกินจริง
  • สินค้ามีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่ง (USP: Unique Selling PointsUSP)
  • สินค้าต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability)
  • สินค้าต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อวางขายกับโมเดิร์นเทรดได้

ด้านผู้ประกอบการ

  • ผู้ประกอบการต้องมีศักยภาพและวิสัยทัศน์ร่วมกันกับ Modern Trade
  • ผู้ประกอบการและธุรกิจต้องมีความมั่นคงและมีประวัติดีในการทำธุรกิจ
  • สถานประกอบการ และโรงงานผลิตสินค้าต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนด
  • ผู้ประกอบการต้องมีระบบบริหารจัดการแผนการตลาดสนับสนุนที่ดีในการทำธุรกิจ

 

5 ขั้นตอนฝากสินค้าเข้าโมเดิร์นเทรด (Modern Trade)

 

1. เตรียมสินค้าให้มีคุณภาพและผ่านมาตรฐาน

สินค้าถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ เมื่อนำสินค้าฝากขายกับโมเดิร์นเทรดที่มีคู่แข่งเป็นจำนวนมาก จะต้องคำนึงถึงคุณค่าและความแตกต่างที่โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่งและเป็นที่ต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งทางตรง ทางอ้อม หรือสินค้าทดแทน

ไม่เพียงเท่านี้การสร้างมาตรฐานให้กับสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการโดยที่สินค้าจะต้องมีคุณภาพและผ่านการรับรองมาตรฐาน เช่น เครื่องหมาย อย. มาตรฐาน GMP หรือ HACCP ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในด้านความสะอาด ความปลอดภัย เพื่อเป็นเครื่องการันตีให้กับ Modern Trade และอย่าลืมที่จะจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม (Vat) ให้กับสินค้าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตรวจสอบจากกรมสรรพากร และสามารถใช้สิทธิ์ขอคืนภาษีได้ในกรณีที่ภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ

2. ลงทะเบียนติดต่อกับ Modern Trade

ขั้นตอนต่อไปคือการติดต่อและนำเสนอสินค้าให้กับช่องทาง Modern Trade ที่ต้องการนำสินค้าไปฝากขาย หากสินค้าเป็นประเภทสินค้าอาหาร หรืออาหารแปรรูปต่าง ๆ สามารถติดต่อเพื่อนำสินค้าตัวอย่างให้ทางโมเดิร์นเทรดทดลองชิมเพื่อพิจารณาสินค้าเบื้องต้นและความเป็นไปได้ที่จะนำมาขาย ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้นโดยที่ไม่ขัดกับหลักการของทางโมเดิร์นเทรด

3. รอผลการพิจารณาเพื่อนัดหมายนำเสนอสินค้า

หากสินค้าผ่านการพิจารณาเบื้องต้นที่ตรงตามเกณฑ์ของทางโมเดิร์นเทรด เจ้าหน้าที่จะดำเนินการนัดหมายเพื่อการนำเสนอสินค้าอย่างละเอียด รวมไปถึงแผนการตลาดของธุรกิจ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แนวโน้มและทิศทางของการตลาด พร้อมทั้งโอกาสการเติบโตในอนาคตของสินค้า เพื่อจัดทำข้อมูลและนำเสนอแก่คณะกรรมการคัดเลือกสินค้าของโมเดิร์นเทรดในขั้นต่อไป

4. ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า การผลิต และโรงงาน

ขั้นตอนถัดมาหลังจากสินค้าผ่านเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดแล้วนั้น ทาง Modern Trade จะมีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตสินค้า โดยจะต้องผ่านมาตรฐานที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากกรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฏหมายที่ระบุไว้ ทั้งด้านความสะอาด ความปลอดภัย ไร้สิ่งปนเปื้อนหรือสารตกค้าง อีกทั้งยังต้องมีศักยภาพในการผลิตและระบบโลจิสติกส์ในการกระจายสินค้าไปยังช่องทางโมเดิร์นเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ทำสัญญาฝากขายและเตรียมนำสินค้าโมเดิร์นเทรด

ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำสัญญาฝากขายเพื่อเตรียมตัวนำสินค้าเข้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีรายการเอกสารประกอบการทำสัญญาฝากขาย ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปตามช่องทางที่ติดต่อทำสัญญา แต่โดยทั่วไปจะต้องเตรียมเอกสารเบื้องต้น ดังนี้

  • สำเนาหนังสือรับรองบริษัทที่รัฐออกให้ไม่เกิน 90 วัน
  • สำเนาหนังสือ ภพ. 20
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ส่งสินค้า
  • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจในการจัดส่งสินค้า
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการรับชำระค่าสินค้า ที่มีชื่อบัญชีตรงตามชื่อที่ปรากฏในหนังสือรับรอง

ส่วนถัดมาคือค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องชำระให้กับทางโมเดิร์นเทรด โดยมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  • ค่าเปิดบัญชี (Open Account) : ค่าใช้จ่ายแรกเข้าในการนำสินค้าฝากขายเพื่อวางจำหน่ายบนชั้นวางของโมเดิร์นเทรด รวมไปถึงการดูแลสินค้า และการทำสรุปรายงานการขายรายเดือน
  • ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU (Stock Keeping Unit) : ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าเข้าตามรายการสินค้า โดยแต่ละช่องทางโมเดิร์นเทรดจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป โดยทางโมเดิร์นเทรดจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งมีการชำระเป็นรายปีตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • ค่า GP (Gross Profit) : ส่วนแบ่งหรือค่าคอมมิชชั่นที่มาจากรายได้ในการขายสินค้าของธุรกิจในช่องทาง Modern Trade ซึ่งถือเป็นค่าบริการด้านสถานที่ และการบริหารจัดการของโมเดิร์นเทรด
  • ค่า DC (Distribution Center) : ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการศูนย์กระจายสินค้าของทางโมเดิร์นเทรดเพื่อกระจายสินค้าไปยังสาขาย่อยต่าง ๆ ของทางเครือ ซึ่งเป็นระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อการลำเลียงและขนส่งสินค้าเพื่อส่งไปยังจุดจำหน่าย Modern Trade ทั่วประเทศ

หลังจากนั้นจะมีการกำหนดวันจำหน่ายสินค้าและกำหนดยอดสั่งผลิตสินค้าสำหรับล็อตแรกเพื่อจัดจำหน่าย ซึ่งจะมีรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น ระบบการขนส่งและกระจายสินค้าจะต้องครอบคลุมทุกสาขา และจะต้องมีมาตรฐานในการขนส่งเพื่อให้สินค้ายังคงคุณภาพในระหว่างการลำเลียง โดยเฉพาะประเภทสินค้าอาหารที่จะต้องควบคุมคุณภาพไม่ให้สินค้าเน่าเสียโดยการใช้ระบบโลจิสติกส์ ที่มีการจัดเก็บสินค้าและขนส่งควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง: CPALL

CO-GISTICS ให้บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิครบวงจร

 CO-GISTICS ให้บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิครบวงจร
Cogistics ผู้ให้บริการ Food Logistic ในบริการ Food Pipeline กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ที่บริหารจัดการระบบโลจิสติกส์เแบบองค์รวมอย่างครบวงวจร เพื่อการกระจายสินค้าอาหารเข้าสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) โดยการเชื่อมต่อระบบจัดการข้อมูลระหว่างธุรกิจสู่ธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมตอบสนองความต้องการของตลาด และควบคุมต้นทุนการกระจายสินค้าให้อุตสาหกรรมอาหาร โดยเรามีเครือข่ายท่อลำเลียงที่เชื่อมต่อทุกช่องทางจัดจำหน่าย Modern Trade ไว้ด้วยกัน และเลือกใช้การจัดเก็บสินค้าและขนส่งควบคุมอุณหภูมิระบบปิดที่ช่วยควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร