November 29, 2024
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

Green Logistics : พลิกโฉมวงการโลจิสติกส์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Green Logistics : พลิกโฉมวงการโลจิสติกส์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นประเด็นที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้หลายองค์กรหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนมองหาวิธีการที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสิ่งที่การดำเนินธุรกิจได้ก่อขึ้นหรือมีส่วนเกี่ยวข้องก็ตามแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการโลจิสติกส์ (Logistics) ที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในการขนส่งและกระจายสินค้านั่นเอง

ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการสำหรับโลจิสติกส์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงได้ถือกำเนิด “ขนส่งสีเขียว” หรือ “Green Logistics” ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า (Logistics) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจรวมถึงการเลือกใช้ยานพาหนะที่ประหยัดพลังงาน การใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือการวางแผนเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่นและลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

ในวันนี้ Cogistics จึงขอพาคุณมาสำรวจเรื่องราวเบื้องต้นเกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์ และมาดูว่า Cogistics ได้มีการนำโลจิสติกส์สีเขียวมาปรับใช้และสอดคล้องกับ บริการกระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ “FOOD PIPELINE” ของเราอย่างไรบ้าง ตามไปดูกัน !

 

Green Logistics คืออะไร ?

Green Logistics คืออะไร ?

 

โลจิสติกส์สีเขียว หรือ Green Logistics คือ แนวทางการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics) ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า วัตถุดิบ และข้อมูลสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมถึงกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) โดยมุ่งเน้นเพื่อการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับโลจิสติกส์ทั้งหมด

โดยมีการนำแนวคิดและกลยุทธ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้ในการขนส่ง การจัดการคลังสินค้า และกระบวนการกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า รวมถึงยังช่วยสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในวงการโลจิสติกส์ได้อีกด้วย

 

เป้าหมายหลักของ Green Logistics

ขนส่งสีเขียวมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ ให้มีความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเด็นที่สำคัญในการมุ่งเน้นเป้าหมาย Green Logistics ได้แก่

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก : หนึ่งในเป้าหมายหลักของกรีนโลจิสติกส์ ที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการขนส่งและการจัดการคลังสินค้า ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการปรับปรุงวิธีการขนส่งให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2 ที่ต่ำที่สุดจึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในเป้าหมายนี้
  • การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ : แนวทางของโลจิสติกส์สีเขียวจะมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสิ้นเปลืองและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ หรือการปรับปรุงกระบวนการขนส่งเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง เป็นต้น
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการซัพพลายเชน : การจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายแต่ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่มีมาตรฐานในการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือการพัฒนาระบบการขนส่งที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

หากพูดถึงโดยรวมแล้วเป้าหมายของ Green Logistics คือการสร้างระบบโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน โดยการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเป้าหมายเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อองค์กรและอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อความยั่งยืนของโลกในอนาคตอีกด้วยนั่นเอง

 

แนวทางปรับตัวของธุรกิจด้วย Green Logistics

Krungthai COMPASS ได้นำเสนอแนวทางการปฏิบัติ (Best Practices) ของ Green Logistics โดยสามารถแบ่งเป็น 6 แนวทางที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Model Shift) : การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งสินค้าจากการขนส่งที่มีการปล่อยมลภาวะสูงไปสู่รูปแบบการขนส่งที่ปล่อยมลพิษน้อยกว่า เช่น การเปลี่ยนจากการขนส่งทางถนนหรือรถบรรทุกมาใช้การขนส่งทางรางด้วยรถไฟ เป็นต้น
  2. การขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint Transportation) : การรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายเจ้าเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า (Load Efficiency) โดยการลดพื้นที่ว่างในการขนส่งสินค้าแต่ละครั้ง รวมถึงช่วยลดการขนส่งเที่ยวเปล่าและการบรรทุกสินค้าให้เต็มรถ เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการขนส่ง
  3. การรวมและการจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า (Unification and Relocation of Cargo Bases) : การรวมศูนย์และจัดตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าให้อยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีความต้องการสูง เพื่อช่วยลดระยะทางในการขนส่งและเวลาในการกระจายสินค้า รวมถึงการรวมสินค้าจากผู้ประกอบการหลายรายไว้ที่จุดพักสินค้าแล้วจัดเส้นทางเพื่อขนส่งสินค้าร่วมกัน เพื่อทำให้การปลดปล่อยมลพิษจากขนส่งสินค้าลดลงตามไปด้วย
  4. เทคโนโลยี (Technology) : การใช้เทคโนโลยีในการลดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ อาทิ การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ดักจับมลพิษจากท่อไอเสีย การใช้เครื่องวัดความเร็ว (Tachometer) เพื่อตรวจสอบการให้บริการยานพาหนะ Eco-Wrapping เป็นต้น
  5. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) : การสร้างหรือการบำรุงรักษาฟื้นฟูสภาพโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งคมนาคมเพื่อทำให้ภาพรวมของการขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนในอนาคตจะมีส่วนในการรับส่งข้อมูลที่ใช้ดำเนินการในกิจกรรมขนส่งสินค้า เช่น ถนน สถานีขนส่งสินค้า สถานีรถไฟ ท่าเรือ หรือสนามบิน เป็นต้น
  6. นโยบายภาครัฐ (Government Policy) : นโยบายจากภาครัฐที่ส่งเสริมการใช้โลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การออกนโยบายและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับภาครัฐของต่างประเทศต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษในการขนส่ง

 

ประโยชน์ของขนส่งสีเขียว (Green Logistics)

  • ภาพลักษณ์ในการเป็นองค์กรที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม : การปรับใช้แนวทางขนส่งสีเขียวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ซึ่งสะท้อนถึงความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ลูกค้า ผู้บริโภค และพันธมิตรทางธุรกิจให้ความสำคัญมากขึ้น โดยการลงทุนใน Green Logistics ทำให้องค์กรมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์และดึงดูดลูกค้ากลุ่มที่สนใจการสนับสนุนธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
  • ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง : การดำเนินธุรกิจด้วยกรีนโลจิสติกส์ช่วยลดการใช้พลังงานที่มาจากการปล่อยเชื้อเพลิงจากการขนส่ง โดยทำให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีราคาสูงลดลงได้ เช่น การใช้รถไฟฟ้าหรือการขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint Transportation) โดยส่งผลดีต่อการลดต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาว โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ราคาพลังงานอาจผันผวนนั่นเอง
  • ต้นทุนการขนส่งสินค้าลดลง : Green Logistics ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ทำให้ธุรกิจสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าได้ โดยการเลือกใช้วิธีขนส่งที่เหมาะสม เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตามและวางแผนการขนส่งที่ดีขึ้น รวมถึงการขนส่งสินค้าร่วมกับธุรกิจอื่นล้วนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ทำให้ต้นทุนขนส่งโดยรวมลดลงและทำให้ธุรกิจสามารถจัดการงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มโอกาสทางการค้า : แนวทางการขนส่งสีเขียวที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมสามารถช่วยสร้างโอกาสทางการค้าได้มากขึ้น โดยธุรกิจที่หันมาใช้กรีนโลจิสติกส์ส่วนใหญ่จะได้รับความสนใจจากคู่ค้าหรือพันธมิตรที่มุ่งสู่ความยั่งยืนเช่นเดียวกัน ซึ่งช่วยเปิดโอกาสในการร่วมมือกับองค์กรที่มีค่านิยมเดียวกัน นอกจากนี้นโยบายที่สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศยังช่วยเปิดตลาดใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจที่มีการจัดการโลจิสติกส์แบบยั่งยืน

 

Food Pipeline เชื่อมโยงกับแนวคิด Green Logistics อย่างไรบ้าง

Food Pipeline” บริการกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Third Party Logistics (3PL) ระหว่างธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) สำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าประเภทวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ทั่วประเทศไทย เราได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด กรีนโลจิสติกส์ (Green Logistics) ด้วย “การขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint Transportation)”

โดยกลยุทธ์การขนส่งสินค้าร่วมกันของ Food Pipeline เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญของ Green Logistics เพื่อลดจำนวนเที่ยวในการกระจายสินค้าภายในกระบวนการขนส่ง โดยการรวมโมเดิร์นเทรดหลายเจ้าเข้าไว้ด้วยกันสำหรับธุรกิจที่วางจำหน่ายสินค้าหลายช่องทาง รวมถึงเป็นช่องทางในการรวมสินค้าจากผู้ผลิตหลายรายเข้ามาในระบบการจัดการขนส่ง Food Pipeline เพื่อจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าและจัดส่งพร้อมกัน

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสำหรับเจ้าของธุรกิจ แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า พร้อมทั้งช่วยบริหารจัดการทรัพยากรและเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าในระบบโลจิสติกส์ ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า และผู้ค้าโมเดิร์นเทรดที่ทำให้เกิดการร่วมมือกันในห่วงโซ่อุปทานและสร้างระบบขนส่งร่วมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

Food Pipeline บริการกระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิสู่โมเดิร์นเทรด


ไว้ใจให้ Food Pipeline บริการกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด เป็นผู้ดูแลสินค้าของคุณตลอดจนการส่งมอบถึงปลายทาง ด้วยขนส่งควบคุมอุณหภูมิระบบปิดที่ช่วยให้สินค้าปลอดภัยและไร้สิ่งปนเปื้อน รวมถึงช่วยคุณลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าโดยการแชร์ต้นทุนการขนส่งร่วมกับเจ้าของธุรกิจอื่นในระบบการจัดการการขนส่งของ Food Pipeline

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร