รู้หรือไม่ว่าในทุก ๆ วันที่คุณรับประทานอาหาร อาจมีสิ่งแปลกปลอมหรือมีสารเคมีอันตรายต่าง ๆ เจือปนอยู่ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่อาจก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในร่างกายและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ แต่ถ้าหากคุณสามารถหลีกเลี่ยงการรับประทานสารปนเปื้อนเหล่านั้นได้ล่ะ มาดูกันว่าสารปนเปื้อนอันตรายต่างๆ นั้นมักอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง มีอันตรายอย่างไร และมีวิธีการใดที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือชะล้างสารปนเปื้อนเหล่านั้นลงได้บ้าง
คุณคงรู้จักสารบอแรกซ์จากเหตุการณ์ที่นำสารบอแรกซ์ไปใส่ในลูกชิ้นจนเป็นข่าวดังเพื่อให้ลูกชิ้นเด้ง และน่ารับประทาน ทำให้กลายเป็นคำพูดติดปากที่ว่า ลูกชิ้นบอแรกซ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วสารบอแรกซ์ไม่ได้มีแค่ในลูกชิ้นเท่านั้น แต่ยังมีในอาหารประเภท ชุบแป้งทอดอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทอดมัน กล้วยทอด หรือประเภทผักผลไม้ดอง รวมไปถึง พวกของสดอย่าง หมูบด ปลาบด เป็นต้น เพราะเป็นความเชื่อผิด ๆ ที่บอกต่อกันว่า บอแรกซ์ จะทำให้อาหารมีความกรุบกรอบ เหนียวนุ่ม น่าทาน และสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น จึงทำให้พ่อค้าแม่ค้านิยมเอาสารบอแรกซ์มาผสมกับอาหาร และด้วยลักษณะของสารบอแรกซ์ที่เป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น คล้ายผงชูรส จึงทำให้สามารถสังเกตได้ยาก นอกจากนี้ในสารบอแรกซ์ยังมีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ถ้าหากบริโภคเข้าไปในร่างกายจะมีผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ลำไส้และกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง อุจจาระร่วง และเป็นพิษต่อตับ ไต และสมองได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารที่ได้รับ
วิธีสังเกตและหลีกเลี่ยง
ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่นำมาใช้ในการป้องกันแมลงและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้กับพืชผักผลไม้ได้ แต่ต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จึงทำให้อาจมีสารพิษตกค้างอยู่ อาหารที่มักตรวจพบว่าสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และล่าสุดจากการสุ่มตรวจมีการพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงในอาหารตากแห้งบางชนิด เช่น ปลาทูเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง ฯลฯ เนื่องจาก พ่อค้าแม่ค้าต้องการฉีดเพื่อกันแมลงมาตอม จึงทำให้ยาฆ่าแมลงอาจตกค้างหรือหลงเหลืออยู่ หากมีการรับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อนนี้เข้าไป อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งหากมีการสะสมของยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
วิธีสังเกตและหลีกเลี่ยง
สารฟอร์มาลิน หรือน้ำยาดองศพ สารเคมีที่มีกลิ่นฉุน พ่อค้าแม่ค้าที่มีความเข้าใจผิด ๆ มักนำมาแช่หรือราดบนอาหารที่มักจะเน่าเสียได้ง่ายเช่น อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ และผักสดชนิดต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อคงความสดใหม่ ชะลอการเน่าเสียของอาหาร แต่รู้หรือไม่ว่าสารฟอร์มาลินนั้น ยังเป็นสารก่อมะเร็งได้อีกด้วย รวมถึงหากได้รับสารฟอร์มาลินที่มากจนเกินร่างกายรับไหวอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่หากร่างกายได้รับสารฟอร์มาลินจากการบริโภคอาหารที่มีสารฟอร์มาลินตกค้างไม่มาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ปวดหัว ปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการเหงื่อออก เป็นต้น
วิธีสังเกตและหลีกเลี่ยง
เชื่อว่าคุณคงเคยทานอาหารหรือผักผลไม้เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว หน่อไม้ดอง เห็ดหูหนูขาว เล็บมือนาง เยื่อไผ่ แป้ง หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ รู้หรือไม่ว่าอาหารเหล่านี้มักเป็นอาหารที่ใส่สารฟอกขาวหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium Hydrosulfite) เพื่อให้อาหารมีสีขาวดูน่ารับประทาน ซึ่งปกติแล้วสารฟอกขาวจะใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการฟอกสี เช่น กระดาษเส้นใยไหม แห อวน และเครื่องหนัง สารฟอกขาวจะมีมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวละลายน้ำได้ หากสารชนิดนี้สะสมในร่างกายในปริมาณมาก จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หรือหมดสติได้ รวมถึงอาจทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ และหากได้รับสารในปริมาณที่มากอาจทำให้เสียชีวิตได้
วิธีสังเกตและหลีกเลี่ยง
และทั้งหมดนี้คือสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมากับสิ่งที่คุณทาน คุณสามารถระวังและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ โดยทำตามคำแนะนำข้างต้น และอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากสารปนเปื้อนได้คือการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการ Freeze หรือ IQF เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และกำจัดสารอันตราย อย่าง อาหารทะเลแช่แข็ง ผักแช่แข็ง หรือ ผลไม้แช่แข็ง เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะผ่านกระบวนการและกรรมวิธีที่สะอาด ปลอดภัย ลดการปนเปื้อนและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ มีการควบคุมตั้งแต่แหล่งเพาะปลูกจนถึงมือผู้บริโภค มั่นใจได้ว่าสิ่งที่คุณทานปลอดภัยไร้สารปนเปื้อน
บริษัทโคจิสติกส์เป็นผู้นำระบบการจัดการด้านซัพพลายเชนมาแก้ปัญหาการจัดหาวัตถุดิบประเภทผัก และ ผลไม้แช่แข็ง พร้อมใช้ และระบบ ขนส่งควบคุมอุณหภูมิ ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมากว่าสิบปี เป็นเบื้องหลังของความสำเร็จให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารชั้นนำของประเทศมากว่าทศวรรษ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.cogistics.co.th