October 11, 2023
Admin Cogistics Co.,Ltduser_icon

Plant Based เทรนด์อาหารจากพืชที่น่าลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย

Plant Based เทรนด์อาหารจากพืชที่น่าลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย

ในปัจจุบันพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนทั่วโลก รวมไปถึงผู้คนในประเทศไทยต่างหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับอาหารมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรักสุขภาพซึ่งเน้นการรับประทานอาหารจากพืช หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ขณะเดียวกันก็ยังตระหนักถึงกระแสรักษ์โลก สิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) รวมไปถึงปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือบริษัทผลิตอาหารต่างพากันปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค เพิ่มทางเลือกให้กับสินค้าอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช หรือที่เราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “Plant Based” นั่นเอง

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย (Krungthai COMPASS) คาดการณ์ตลาด Plant-Based Food ในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงถึง 4.5 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ในปี 2024 โดยมองว่าตลาดอาหารจากพืชหรือเนื้อจากพืชนี้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของผู้ประกอบการในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมและธุรกิจผลิตอาหาร เพื่อรองรับเทรนด์อาหารโลกที่ทำให้มีทางเลือกในการบริโภคเพิ่มมากขึ้น และสะดวกต่อการใช้ชีวิตในยุคนี้

โดยมีกระแสตอบรับเป็นตัวอย่างที่ดีให้เห็นได้ในตลาดสหรัฐอเมริกาและโด่งดังไปทั่วโลกอย่างบริษัท Beyond Meat และ Impossible Food จากการเปิดตัวเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืชที่มีรสชาติ สีสัน และเนื้อสัมผัสเหมือนกับเนื้อสัตว์ของจริง อีกทั้งการเติบโตกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ฯ ของเม็ดเงินลงทุนใน Startup กลุ่ม Bio-Engineerd Food จึงสะท้อนให้เห็นว่าตลาดอาหารกลุ่มนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

 

รู้จัก “Plant Based” ทางเลือกใหม่ของอาหารสุขภาพ

Plant Based คือ อาหารกลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) ที่ทำมาจากพืชเป็นหลักประมาณ 95% โดยเน้นการใช้โปรตีนจากพืชเพื่อผลิตเป็นอาหาร แต่งสีและใช้น้ำมันธรรมชาติจากพืช เพื่อให้มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริง ซึ่งเป็นอาหารทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่ต้องการลดหรือหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายต้องการ

วัตถุดิบที่นำมาผลิต Plant Based โดยส่วนมาก ได้แก่…

  • ถั่วเหลือง (Soy)
  • ถั่วเมล็ดแห้ง (Bean)
  • ถั่วเปลือกแข็ง (Nut)
  • เมล็ดพืช (Seeds)
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grains)
  • สาหร่าย (Seaweed)
  • ผักและผลไม้ (Vegetables and fruits)

สามารถทำออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น…

  • เนื้อจากพืช (Plant-Based Meat)
  • อาหารแปรรูปจากพืช (Plant-Based Processed Foods)
  • นมจากพืช (Plant-Based Milk & Dairy)
  • น้ำสลัดจากพืช (Plant-Based Dressing)
  • เครื่องปรุงจากพืช (Plant-Based Seasoning)
  • ไข่จากพืช (Plant-Based Egg)
  • ไอศครีมจากพืช (Plant-Based Ice-cream)

“3 กลุ่ม” Plant-based Food ที่น่าจับตามอง

 “3 กลุ่ม” Plant-based Food ที่น่าจับตามอง

รายงาน Plant Based Meat, Eggs and Dairy 2018 จาก The Good Food Institution พบว่าอาหารในกลุ่ม Plant-Based Food ที่น่าจับตามองในไทยโดยสอดคล้องกับเทรนด์ในต่างประเทศ มีด้วยกัน 3 กลุ่มที่โดดเด่นออกมา ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์จากพืช อาหารจากพืช และไข่จากพืช ที่มีอัตราการเติบโตสูงโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา

เนื้อสัตว์จากพืช (Plant-based Meat)

ร้านอาหารในไทยที่เป็นเครือข่ายของผู้ประกอบการต่างประเทศเริ่มทำการตลาดและนำเสนอเมนูที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และกลุ่มผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ โดยรู้จักและมีความเข้าใจผลิตภัณฑ์อาหารในกลุ่ม Plant-based Meat มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างสินค้า เช่น Plant-based Meat Burger เป็นต้น อีกทั้งยังมีเรื่องการตั้งราคาที่แข่งขันได้เข้ามากระตุ้นความน่าสนใจ เนื่องจาก Plant-based ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม จึงทำให้สามารถตั้งราคาได้สูงกว่า Traditional Protein ในกลุ่มสินค้าเดียวกันได้

อาหารจากพืช (Plant-based Meal)

การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตอาหาร ทำให้ Plant-Based ในรูปแบบอาหารพร้อมทานมีคุณลักษณะใกล้เคียงกับอาหารปรุงสดมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภคที่แสวงหาความสะดวกรวดเร็วในการรับประทานอาหารและยังดูแลเรื่องสุขภาพไปด้วย โดยอุตสาหกรรมอาหารสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้นทั้งรูปแบบอาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง และอาหารที่เก็บในอุณหภูมิห้องได้โดยไม่ต้องแช่เย็น

ไข่จากพืช (Plant-based Egg)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ไข่ที่ทำจากพืชมีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้หลากหลาย ทั้งกลุ่มผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ และกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากไข่ โดยเฉพาะผู้บริโภควัยเด็ก อีกทั้งในมุมมองของผู้ผลิตที่ใช้ Plant-based Egg เป็นวัตถุดิบพบว่ามีอายุการเก็บรักษา (Shelf Life) นานกว่าไข่ทั่วไป ทำใ้หสามรถบริหารจัดการวัตถุดิบได้ง่ายกว่านั่นเอง

“6 เหตุผล” ที่อุตสาหกรรมอาหาร ควรรุกตลาด Plant-Based

“6 เหตุผล” ที่อุตสาหกรรมอาหาร ควรรุกตลาด Plant-Based

  • ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพที่ดี
    พฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพที่ดี (Health & Wellness) มากขึ้น โดยพยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปและหันมาทานอาหารที่มีโปรตีนจากพืชแทน เนื่องจากการบริโภคเนื้อแดงเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค NCDs จากกระบวนการปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้ อีกทั้งการรับประทานผักหรืออาหารจากพืชยังเป็นตัวเลือกในการควบคุมอาหาร และยังช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย
  • ผู้บริโภคหันมาทานมังสวิรัติ อย่างต่อเนื่อง
    กระแส Flexitarian หรือผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่นที่ทานมังสวิรัติสลับเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราวเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ตลาด Plant-Based ไม่ถูกจำกัดเพียงแค่ในเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป โดยมีข้อมูลสนับสนุนจาก Deloitte (2019) พบว่ากลุ่มที่เลิกหรือลดการลดบริโภคเนื้อสัตว์ในอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง 2.6 เท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม Flexitarian เป็นหลักนั่นเอง
  • กระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์เพิ่มสูงขึ้น
    ผู้คนยุคใหม่ตระหนักถึงกระแสการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ทั้งการรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม และประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) โดยผลิตภัณฑ์จากสัตว์ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตภัณฑ์จากพืช และห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ยังเกิดก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตอาหารอีกด้วย จึงทำให้สินค้า Plant-based Food เป็นที่นิยมมากขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาการทรมานสัตว์จากการเลี้ยงอีกด้วย
  • โลกมีปัญหา Food Security อาหารไม่เพียงพอ
    ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร หรือ Food Security จากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกทำให้วิกฤตขาดแคลนอาหารเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย จน Plant-based Food มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการช่วยแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตเนื้อต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งเนื้อสัตว์ทางเลือกอย่าง เนื้อจากพืช นี้สามารถทดแทนความต้องการเนื้อสัตว์ที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคได้
  • Food Tech เร่งการเติบโตของตลาด Plant-Based
    เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหาร (Food Tech) ในภาคอุตสาหกรรมอาหารมีบทบาทสำคัญทำให้อาหารที่ทำจากพืชเติบโตมากยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตอาหารเริ่มเข้ามาลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารจากพืชอย่างจริงจัง โดยมีการประเมินว่าเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจอาหารที่ทำจากพืชและเทคโนโลยีอาหารทาเลือกมีโอกาสโตถึงระดับ 8.5 หมื่น - 1.4 แสนล้านดอลลาร์ฯ ภายในระยะเวลา 10 - 15 ปีเลยทีเดียว
  • ความกังวลของโรคติดต่อจากสัตว์มีมากขึ้น
    โรคระบาดในช่วงปี 2019 อย่างโควิด -19 ทำให้ผู้บริโภคต่างมีความกังวลด้านสุขภาพ และโรคติดต่อของเชื้อโรคจากสัตว์สู่คนยิ่งขึ้น จึงเป็นแรงสนับสนุนที่ทำให้ธุรกิจอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based Food) มีการเติบโตสูงขึ้นไปโดยปริยาย

“2 ประเภท” ธุรกิจอาหารที่มีโอกาสขยายตลาดสู่ Plant-Based

“2 ประเภท” ธุรกิจอาหารที่มีโอกาสขยายตลาดสู่ Plant-Based

  • ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์
    จากทุนเดิมที่ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ (Processed Meat) และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ (Animal Product) เป็นธุรกิจที่อยู่ในตลาดอาหารกลุ่มโปรตีนอยู่แล้ว จึงทำให้การต่อยอดเข้าสู่ตลาด Plant-Based ไม่ใช่เรื่องยาก จึงทำให้มีจำนวนผู้ประกอบการในไทยที่มีศักยภาพในตลาด Plant-Based จำนวนมากและมีอัตรากำไรที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด
  • ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน
    ธุรกิจกลุ่มผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน (Ready-to-cook and Ready-to-eat) เป็นธุรกิจที่สามารถใช้ Plant-Based มาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วและใส่ใจเรื่องสุขภาพได้ง่าย โดยมีโอกาสเพิ่มสัดส่วนในกลุ่ม Plant-Based ที่ทำจากออร์แกนิค ซึ่งจะเห็นได้จาก Ingredient Makers ที่มีการเข้ามาทำตลาดนี้มากขึ้นนั่นเอง

 

เข้าสู่วงการ Plant-Based Food ต้องรู้จักใครบ้าง?

  • Ingredient Makers
    การมองหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจด้านวัตถุดิบในการผลิตสินค้า Plant-Based Food โดยจะต้องพิจารณาเบื้องต้นจากความเชี่ยวชาญของพาร์ทเนอร์ในวัตถุดิบแต่ละประเภทที่นำมาเป็นส่วนผสมของสารอาหารที่ทำจากพืชและโปรตีนที่หลากหลายให้ผู้ผลิตอาหารสามารถนำไปใช้งานได้ง่ายและเลือกใช้วัตถุดิบที่ต้องการได้อย่างหลากหลายประเภท
  • หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา
    การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหารถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จในตลาด Plant-based Food โดยควรมีหน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำ R&D เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์ และการเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมในการผลิต เป็นต้น

ข้อมูล: Krungthai COMPASS; ตุลาคม 2020.
ที่มา: https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_452Plant_based_Food_10_11_63.pdf

CO-GISTICS พาร์ทเนอร์ด้านวัตถุดิบที่คุณมองหา

จากการคาดการณ์พบว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตลาด Plant-based Food มีแนวโน้มโตขึ้นจากพฤติกรรมของผู้บริฌภคที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนช่วยทำเร่งการเติบโตของตลาดนี้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการเริ่มเข้าสู่ตลาด Plant-based ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร จึงเป็นทาเลือกที่น่าสนใจของผู้ประกอบการในยุคนี้ การมองหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ ย่อมเป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจอาหารเติบโตไปได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น

Cogistics คู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร เราจึงนำองค์ความรู้ด้านระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการบริหารจัดการด้านวัตถุดิบผัก-ผลไม้แช่แข็งเพื่อช่วยจัดหาและคัดเลือกวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานจากแหล่งเพาะปลูกทั่วโลก ภายใต้บริการ Veggie Industry ของเราที่จะสามารถจัดหาวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า Plant-based Food ของธุรกิจคุณได้มากกว่า 100 ชนิดพร้อมมีรูปทรงให้เลือกตัดแต่งได้กว่า 18 แบบ

และเรายังมีบริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิสำหรับสินค้าอาหาร เพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศไทย ด้วยบริการลำเลียงและขนส่งสินค้าอาหารแบบควบคุมอุณหภูมิ Food Pipeline
ดูแลการกระจายสินค้าอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมได้อย่างคงที่และมีประสิทธิภาพ

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

Call: 02-328-6638

Line Official: @cogistics

Facebook: Cogistics Co., Ltd.

Email: salesorder@cogistics.co.th

แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Cogistics เพื่อนคู่คิดธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร